เล่าเรื่องประติมานวิทยา: กากะ (Kāka)
จำนวนผู้เข้าชม 1952

          “กา” ภาษาสันสันกฤต คือ กากะ (काक) มาจากเสียงร้องของอีกา ถือเป็นสัตว์นำโชคร้าย ตามคติของอินเดีย ทั้งนี้อาจจะเนื่องมาจากสีกาย อันเป็นสีดำสนิท หรือจากนิสัยขี้ขโมยของอีกา เชื่อว่ากากะเกี่ยวข้องกับจิตวิญญาณของคนตาย ทางประติมานวิทยาสัมพันธ์กับเทพ เทวี แห่งเคราะห์ร้าย ความอับโชค และความอัปลักษณ์ จัดเป็นสัตว์พาหนะของพระศนิ (Śani) หรือพระเสาร์ (Saturn) ซึ่งเป็นดาวแห่งบาปเคราะห์ และปรากฏบนธง (กากะธวัช-Kākadhvaja) ประจำองค์ อลักษมี (Alakṣmī) หรือ ชเยษฐา (Jyeṣṭhā) หรือ ธูมาวตี (Dhūmāvatī) เทวีแห่งความอัปมงคล

------------------------------------------
ผู้เรียบเรียง : เด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
------------------------------------------





อ้างอิง 
1. Gösta Liebert, Iconographic Dictionary of the Indian Religions Hinduism-Buddhism-Jainism (Leiden: E.J. Brill, 1976), 116. 
2. Margaret Stutley, The illustrated dictionary of Hindu iconography (London : Routledae & Kegan Paul, 1985), 62.