C
C
C
Thai
English
หน้าหลัก
กรมศิลปากร
ประวัติและบทบาทหน้าที่
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ผู้บริหารกรมศิลปากร
ผู้บริหารระดับสูง
ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ
ผู้อำนวยการสำนักส่วนกลาง
ผู้อำนวยการสำนักศิลปากร
CIO
โครงสร้างองค์กร
บุคลากรดีเด่น
ยุทธศาสตร์/แผนปฏิบัติราชการ
แผนงาน/โครงการ/งบประมาณ
หน่วยงานในสังกัด
บริการประชาชน
พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง
อุทยานเสมือนจริง
GIS (ระบบภูมิสารสนเทศแหล่งมรดกศิลปวัฒนธรรม)
NSW (ขอนำเข้า/ส่งออก โบราณวัตถุศิลปวัตถุ)
e-service (จดแจ้งการพิมพ์, ขอเลข ISSN, ISBN, CIP)
คลังข้อมูลดิจิทัล
จำหน่ายบัตรการแสดงออนไลน์
จำหน่ายหนังสือกรมศิลปากร
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารฯ
อื่นๆ
คู่มือและมาตรฐานกรมศิลปากร
แผ่นพับนำชม
เอกสารดาวน์โหลด
แจ้งและร้องเรียน
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
แบบสำรวจความพึงพอใจ
แหล่งเรียนรู้
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
อุทยานประวัติศาสตร์
หอสมุดแห่งชาติ
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรม
ข่าวรับสมัครงาน
จัดซื้อจัดจ้าง
ข่าว Feed
คลังวิชาการ
องค์ความรู้
ด้านดนตรีและนาฏศิลป์
ด้านภาษาและหนังสือ
ด้านเอกสารจดหมายเหตุ
ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
ด้านสถาปัตยกรรมและช่างศิลป์
ความรู้ทั่วไป
ความรู้ด้านดนตรีและนาฏศิลป์
ความรู้ด้านภาษา หนังสือ และเอกสาร
ความรู้ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
ความรู้สถาปัตยกรรมและช่างศิลป์
วีดิทัศน์
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์.
กฏระเบียบ
กฎหมายและระเบียบ
ITA
ติดต่อ
Thai
English
Login
Register
search
หน้าหลัก
กรมศิลปากร
ประวัติและบทบาทหน้าที่
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ผู้บริหารกรมศิลปากร
ผู้บริหารระดับสูง
ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ
ผู้อำนวยการสำนักส่วนกลาง
ผู้อำนวยการสำนักศิลปากร
CIO
โครงสร้างองค์กร
บุคลากรดีเด่น
ยุทธศาสตร์/แผนปฏิบัติราชการ
แผนงาน/โครงการ/งบประมาณ
หน่วยงานในสังกัด
บริการประชาชน
พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง
อุทยานเสมือนจริง
GIS (ระบบภูมิสารสนเทศแหล่งมรดกศิลปวัฒนธรรม)
NSW (ขอนำเข้า/ส่งออก โบราณวัตถุศิลปวัตถุ)
e-service (จดแจ้งการพิมพ์, ขอเลข ISSN, ISBN, CIP)
คลังข้อมูลดิจิทัล
จำหน่ายบัตรการแสดงออนไลน์
จำหน่ายหนังสือกรมศิลปากร
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารฯ
อื่นๆ
คู่มือและมาตรฐานกรมศิลปากร
แผ่นพับนำชม
เอกสารดาวน์โหลด
แจ้งและร้องเรียน
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
แบบสำรวจความพึงพอใจ
แหล่งเรียนรู้
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
อุทยานประวัติศาสตร์
หอสมุดแห่งชาติ
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรม
ข่าวรับสมัครงาน
จัดซื้อจัดจ้าง
ข่าว Feed
คลังวิชาการ
องค์ความรู้
ด้านดนตรีและนาฏศิลป์
ด้านภาษาและหนังสือ
ด้านเอกสารจดหมายเหตุ
ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
ด้านสถาปัตยกรรมและช่างศิลป์
ความรู้ทั่วไป
ความรู้ด้านดนตรีและนาฏศิลป์
ความรู้ด้านภาษา หนังสือ และเอกสาร
ความรู้ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
ความรู้สถาปัตยกรรมและช่างศิลป์
วีดิทัศน์
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์.
กฏระเบียบ
กฎหมายและระเบียบ
ITA
ติดต่อ
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
กู่โพนระฆัง จังหวัดร้อยเอ็ด
จำนวนผู้เข้าชม 267
กู่โพนระฆัง ตั้งอยู่บ้านกู่กาสิงห์ ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด อยู่ห่างจากกู่กาสิงห์ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ ๔๐๐ เมตร ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๗๒ หน้า ๒๖ วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๒๕ มีพื้นที่ประมาณ ๒ ไร่ ๓ งาน ๑๗ ตารางวา
กู่โพนระฆัง สร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ประกอบด้วยปราสาทประธาน ฐานก่อด้วยศิลาแลง เป็นฐานเขียง ๕ ชั้น มีบันไดทางขึ้น ๔ ด้าน เรือนธาตุก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย มีประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออกเพียงด้านเดียว ก่อมุขยื่นออกมาด้านหน้าและเจาะช่องหน้าต่างที่ผนังด้านทิศเหนือและทิศใต้ ด้านหน้าปราสาทประธานมีชาลา (ทางเดิน) เชื่อมกับโคปุระ (ซุ้มประตู) อยู่กึ่งกลางแนวกำแพงทิศตะวันออก ก่อด้วยศิลาแลงและหินทรายมีผังเป็นรูปกากบาท มีห้องมุขด้านทิศตะวันออก มีบรรณาลัยตั้งอยู่มุมด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ลักษณะเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย หันหน้าไปทางทิศตะวันตก โดยรอบก่อกำแพงแก้วด้วยศิลาแลงล้อมรอบทั้ง ๔ ด้าน และมีสระน้ำกรุขอบสระด้วยศิลาแลง อยู่ด้านนอกของกำแพงแก้วทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
จากหลักฐานจารึกปราสาทตาพรหม ได้กล่าวถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ โปรดฯให้สร้าง “อโรคยาศาล” หรือศาสนสถานประจำโรงพยาบาล ตามเส้นทางจากเมืองพระนครไปยังหัวเมืองต่างๆ จำนวน ๑๐๒ แห่ง ซึ่งในประเทศไทยพบอโรคยาศาลจำนวนหลายแห่ง ส่วนใหญ่อยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นโบราณสถานที่สร้างขึ้นตามรูปแบบสถาปัตยกรรมเขมรศิลปะแบบบายน (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘) จากลักษณะแผนผังของกู่โพนระฆัง แสดงให้เห็นว่าเป็นหนึ่งในอโรคยาศาลที่ถูกกล่าวถึงในจารึกปราสาท ตาพรหม เพราะแผนผังและรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของอโรคยาศาลจะเป็นแบบแผนเดียวกัน แต่จะแตกต่างกันในรายละเอียดเล็กน้อยบางอย่าง เช่น ขนาดของอาคาร การเจาะช่องหน้าต่าง และการทำมุขปราสาทประธาน เป็นต้น ซึ่งสันนิษฐานว่าโบราณสถานประเภทนี้สร้างขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน โดยช่างฝีมือในท้องถิ่น กรมศิลปากรได้ทำการขุดค้นขุดแต่งกู่โพนระฆัง ใน พ.ศ. ๒๕๔๕ บูรณะสระน้ำของกู่โพนระฆัง ใน พ.ศ. ๒๕๔๗ และบูรณะกู่โพนระฆัง ใน พ.ศ. ๒๕๕๕
จากการขุดศึกษาทางโบราณคดี สันนิษฐานว่าราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ชุมชนที่อยู่บริเวณบ้านกู่กาสิงห์ในขณะนั้น ได้เปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนาแบบมหายานแทนศาสนาฮินดู ตามแบบอย่างราชสำนักในเมือง พระนคร ช่วงรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ที่ทรงโปรดฯให้สร้างอโรคยาศาล ตามชุมชนในเขตการปกครองของพระองค์
------------------------------------------
เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวศุภภัสสร หิรัญเตียรณกุล นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี
------------------------------------------
อ้างอิงจาก
ศิลปากร, กรม. โดย สำนักศิลปากรที่ ๑๐ ร้อยเอ็ด. รายงานการบูรณะกู่โพนระฆัง ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๑. ปุราณรักษ์ ห้างหุ้นส่วนจำกัด, ๒๕๕๑. ศิลปากร, กรม. โดย สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๘ อุบลราชธานี. รายงานการขุดค้น-ขุดแต่งเพื่อการออกแบบบูรณะโบราณสถานกู่โพนระฆัง บ.กู่กาสิงห์ ต.กู่กาสิงห์ อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด. ม.ป.ท. : ม.ป.ป., ๒๕๔๕. (อัดสำเนา)