หินลับ จากหลุมขุดค้นถ้ำเบื้องแบบ
จำนวนผู้เข้าชม 1772

หินลับ
อายุสมัย : ก่อนประวัติศาสตร์ (๖,๕๐๐ – ๔,๗๐๐ ปีมาแล้ว)
วัสดุ : หินทราย
ประวัติ : พบจากหลุมขุดค้นถ้ำเบื้องแบบ หมู่ที่ 3 บ้านเบื้องแบบ ตำบลบ้านทำเนียบ อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อพ.ศ. ๒๕๒๕ โดยโครงการโบราณคดีเชี่ยวหลาน กองโบราณคดีกรมศิลปากร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลางรับมาเมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๒
................................................................


          หินลับเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับลับคมให้กับเครื่องมือหินขัดที่สึกกร่อนจากการใช้งานให้มีความคมขึ้นมาอีกครั้ง เช่นเดียวกับหินลับมีดในปัจจุบัน  จากการขุดค้นที่แหล่งโบราณคดีถ้ำเบื้องแบบซึ่งพบโบราณวัตถุชิ้นนี้ พบร่องรอยการใช้งานพื้นที่สองสมัย คือสมัยรัตนโกสินทร์ และสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งปรากฏหลักฐานที่น่าสนใจคือ โครงกระดูกมนุษย์ (ไม่ครบส่วน) กระดูกและฟันสัตว์ เปลือกหอย ภาชนะดินเผารูปทรงต่างๆ กระสุนดินเผา เครื่องมือหินรูปแบบต่างๆ หินลับ หินทุบเปลือกไม้ และกำไลหิน
................................................................
ที่มาข้อมูล : กรมศิลปากร. โบราณสถานถ้ำเบื้องแบบ. สืบค้นข้อมูลเมื่อ ๙ เมษายน ๒๕๖๓. เข้าถึงข้อมูลจาก http://gis.finearts.go.th/fineart/ นงคราญ สุขสม. ประวัติศาสตร์โบราณคดีสุราษฎร์ธานี. กรุงเทพฯ : อาทิตย์ คอมมูนิเคชั่น, ๒๕๔๕.