โบราณสถานเมืองเพนียด จังหวัดจันทบุรี
จำนวนผู้เข้าชม 6941

โบราณสถานเมืองเพนียด จังหวัดจันทบุรี.

 จิราพร กิ่งทัพหลวง.โบราณสถานเมืองเพนียด จังหวัดจันทบุรี.จันท์ยิ้ม.(3):3;.กุมพาพันธ์-มีนาคม 2561

          เมืองเพนียดหรือเมืองกาไว เป็นเมืองโบราณในจังหวัดจันทบุรี ปัจจุบันตั้งอยู่ในพื้นที่ ตําบลคลองนารายณ์ อําเภอเมืองจันทบุรี จังหวัด จันทบุรี เชิงเขาสระบาปติดลําน้ําสาขาซึ่งไหลออกสู่ทะเลอ่าวไทย ลักษณะผังเมืองคล้ายรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีคันดินล้อมรอบ พื้นที่ราว ๑,๖๐๐ ไร่ อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๘

          พบหลักฐานสําคัญ อาทิ กลองมโหระทึก จารึก จํานวน ๓ หลัก คือ ๑. จารึกวัดทองทั่ว - ไชยชุมพล (อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒) ๒. จารึกเพนียด ๑ (อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕) และ ๓. จารึกเพนียด ๕๒ (อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕) และหลักฐานมากมาย เช่น พระหริหระ แบบพนมดา (อายุราว พ.ศ. ๑๐๘๐-๑๑๕๐) ทับหลังในสมัยต่างๆ โดยเฉพาะ แบบถาลาบริวัต (พ.ศ. ๑๑๕๐) ซึ่งเป็นลักษณะทางด้านศิลปกรรมของ วัฒนธรรมเขมรโบราณที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียอันเก่าแก่ที่สุด ในประเทศไทย ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ แสดงให้เห็นว่า เมืองเพนียด เป็นเมืองท่าในวัฒนธรรมเขมรที่ใกล้ชิดกับอินเดีย และเป็นชัยภูมิสําคัญ ที่เชื่อม อารยธรรมจากต่างถิ่นเข้าสู่พื้นที่ตอนในแผ่นดิน

การสํารวจพบเมืองเพนียดโดยสํานักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖-๒๔๔๖ ต่อมากรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. ๒๔๗๘

ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒-๒๕๔๕ สํานักโบราณคดี และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๔ ปราจีนบุรี หรือสํานักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรีในปัจจุบัน ได้ดําเนินงานโบราณคดี และบูรณะโบราณสถาน ด้านทิศเหนือ หรือคเพนียด ลักษณะเป็นสระน้ํารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ๒ สระ แต่ละสระมีขนาด กว้าง ๖๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร กรุด้วยศิลาแลง มี บันไดทางขึ้น น่าจะสร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา อายุ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘

ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ สํานักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี ดําเนินการสํารวจทําแผนผังและขุดค้นโบราณสถาน เมืองเพนียดบริเวณคันดิน เมืองโบราณเพนียด พบหลักฐานโบราณวัตถุชิ้นสําคัญ คือ พวยภาชนะ ดินเผา แบบทวารวดี ซึ่งการพบหลักฐานดังกล่าวถือเป็นข้อมูลใหม่ จากเดิมที่ส่วนใหญ่ปรากฏเพียงหลักฐานแบบ วัฒนธรรมเขมรโบราณ

ในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ กรมศิลปากรได้อนุมัติงบประมาณบูรณะ โบราณสถานฉุกเฉินเร่งด่วน เพื่ออนุรักษ์ และพัฒนาเมืองเพนียด รวมทั้ง ปรับสภาพภูมิทัศน์โดยเฉพาะบริเวณบารายโบราณสถานเพนียดอย่าง เร่งด่วน เพื่อเพิ่มข้อมูลทางวิชาการและรักษาโบราณสถานสําคัญให้มี ความมั่นคงแข็งแรง เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมในภาคตะวันออก ของประเทศไทยเชื่อมโยงในระดับนานาชาติเพิ่มความสามารถในการดึงดูด ให้สาธารณชนเดินทางมาท่องเที่ยว สอดรับกับนโยบายของรัฐบาล ในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ต่อไป