รายงานการเดินทางไปราชการ ณ สาธารณรัฐเกาหลี โครงการมหกรรมการแสดงด้านนาฏดุริยางคศิลป์ แบบบูรณาการ ภายใต้โครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน กิจกรรมการแสดงนาฏศิลป์และดนตรีไทย ณ สาธารณรัฐเกาหลี (ประจำปี ๒๕๕๙)
จำนวนผู้เข้าชม 386

รายงานการเดินทางไปราชการ สาธารณรัฐเกาหลี

 

๑.  ชื่อโครงการ โครงการมหกรรมการแสดงด้านนาฏดุริยางคศิลป์ แบบบูรณาการ ภายใต้โครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน กิจกรรมการแสดงนาฏศิลป์และดนตรีไทย  สาธารณรัฐเกาหลี (ประจำปี ๒๕๕๙) 

 

๒. วัตถุประสงค์

          ๑.  เพื่อศึกษาดูงานการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ และโรงละครแห่งชาติเกาหลี (National Theater  of Korea)

๒.  เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมให้ชาวต่างประเทศได้รับรู้ถึงคุณค่าของศิลปะการแสดงชั้นสูงด้านนาฏศิลป์ และดนตรี ของกรมศิลปากร

          ๓.  เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และงานทางวิชาการเพื่อพัฒนาการแสดงนาฏศิลป์ ดนตรีของไทย

          ๔. เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์โดยใช้ศิลปะวัฒนธรรมเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน  เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีในมิติทางวัฒนธรรมระหว่างองค์กรทางด้านศิลปวัฒนธรรม เพื่อขยายสู่ความร่วมมือด้านอื่น ๆ ต่อไป                                                  

 

๓. กำหนดเวลา  ระหว่างวันที่ ๑๙ – ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ รวมวันเดินทางไปกลับ

 

๔. สถานที่  Chung-Ang University, National Theater of Koreaสาธารณรัฐเกาหลี

 

๕. หน่วยงานผู้จัด  สำนักการสังคีต  กรมศิลปากร  กระทรวงวัฒนธรรม

 

๖. หน่วยงานสนับสนุน  ไม่มี


๗. กิจกรรม

วันเสาร์ที่  ๑๙  มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙

๒๓.๓๐  น.                 เดินทางออกจากประเทศไทย  โดยสายการบินไทย เที่ยวบินที่ TG656

 

วันอาทิตย์ที่ ๒๐  มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙

๐๖.๓๕ น.                  เดินทางถึงสนามบินอินชอน สาธารณรัฐเกาหลี 

๑๐.๐๐ น.                  ทัศนศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรม สาธารณรัฐเกาหลี  

๑๘.๐๐ น.                  เดินทางกลับเข้าที่พัก

 

วันจันทร์ที่ ๒๑  มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙

๐๙.๐๐ น.                  เดินทางไปโรงละครแห่งชาติเกาหลี (National Theater of Korea)

๑๐.๐๐ น.                  เข้าร่วมประชุม และพบศิลปิน ณ โรงละครแห่งชาติเกาหลี (National Theater of Korea)

๑๓.๐๐ น.                  ทัศนศึกษาพิพิธภัณฑ์ศิลปะการแสดงแห่งชาติ (The Performance Art Museum of Korea)

๑๖.๐๐ น.                  เดินทางกลับเข้าที่พัก

 

วันอังคารที่ ๒๒  มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙

๑๙.๐๐ น.                  เดินทางไป Chung-Ang University

๑๓.๐๐ น.                  การจัดการแสดงและแลกเปลี่ยนทางวิชาการด้านนาฏศิลป์และดนตรี

         มอบของที่ระลึกพร้อมบันทึกภาพหมู่

๑๖.๐๐ น.                  เดินทางกลับเข้าที่พัก

 

วันพุธที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙

๐๙.๐๐ น.                  จัดเก็บอุปกรณ์ และสัมภาระของการแสดง

๑๗.๐๐ น.                  เดินทางถึงสนามบินอินชอน

๒๑.๒๕                     เดินทางกลับประเทศไทย โดยสายการบินไทย เที่ยวบินที่ TG657

 

วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙  

๐๑.๒๐                     เดินทางถึงสนามบินสุวรรณภูมิ  กรุงเทพมหานค

 

 

๘. คณะผู้แทนไทย  ประกอบด้วย ข้าราชการ กรมศิลปากร และสำนักงบประมาณ  จำนวน ๑๗ คน คือ

๑. นายลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา  นักวิชาการละครและดนตรีชำนาญการพิเศษ

๒. นายจรัญ  พูลลาภ               นักวิชาการละครและดนตรีชำนาญการ

๓. นางอัมไพวรรณ  เดชะชาติ      นักวิชาการละครและดนตรีชำนาญการ

๔. นายรัฐศาสตร์  จั่นเจริญ        นักวิชาการละครและดนตรีปฏิบัติการ

๕. นายวัชรวัน ธนะพัฒน์           นาฏศิลปินชำนาญงาน

๖. นายกิตติ  จาตุประยูร            นาฏศิลปินชำนาญงาน

๗. นายศราวุธ  อารมณ์ชื่น         นาฏศิลปินชำนาญงาน

๘. นายเอก อรุณพันธ์               นาฏศิลปินชำนาญงาน

๙. นายสุทธิ  สุทธิรักษ์              นาฏศิลปินชำนาญงาน

๑๐. นางสาวมณีรัตน์  มุ่งดี         นาฏศิลปินชำนาญงาน

๑๑. นางสาวหนึ่งนุช  เคหา         นาฏศิลปินชำนาญงาน  

๑๒. นางสาวสุพัตรา  แสงคำพันธุ์  นาฏศิลปินชำนาญงาน

๑๓. นางสาวศรีสุคนธ์  บัวเอี่ยม    นาฏศิลปินชำนาญงาน

๑๔. นายสุรพงศ์  โรหิตาจล        ดุริยางคศิลปินชำนาญงาน

๑๕. นายจตุพร  ดำนิล              ดุริยางคศิลปินชำนาญงาน

๑๖. นายรณชัย  ผาสุกกิจ           ดุริยางคศิลปินชำนาญงาน

๑๗. นางสาวลัดดา  บรรพบุรุษ     เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชำนาญงาน

 

๙. สรุปสาระของกิจกรรม      

          สำนักการสังคีต กรมศิลปากร มีนโยบายกำหนดทิศทางการบริหารจัดการวัฒนธรรม ในลักษณะ    เชิงรุก ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมโลก ปีพุทธศักราช ๒๕๕๙ให้แก่เยาวชน นักเรียน นักศึกษา นักวิชาการ ศิลปิน และผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรม โดยการบริหารจัดการวัฒนธรรมในเชิงรุก มีแนวทางการนำเสนอศิลปะการแสดงของชาติดังกล่าวข้างต้น มุ่งสู่สังคมชาวโลก ให้เกิดการยอมรับ และเรียนรู้มรดกชาติที่สำคัญนี้ด้วยการวางแผน การบริหารจัดการโดยองค์กร โดยการจัดการแสดงนาฏศิลป์และดนตรี และแลกเปลี่ยนทางวิชาการด้านนาฏศิลป์ดนตรี Chung-Ang University สาธารณรัฐเกาหลี เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีงามในมิติทางวัฒนธรรมระหว่างองค์กรทางด้านศิลปวัฒนธรรมระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐเกาหลี โดยใช้ศิลปะวัฒนธรรมเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน นำไปสู่ความร่วมมือด้านอื่น ๆ ต่อไป

๑๐. ข้อเสนอแนะจากกิจกรรม

          สมควรให้การสนับสนุนการเดินทางไปปฏิบัติราชการเพื่อจัดการแสดง และแลกเปลี่ยนทางวิชาการด้านนาฏศิลป์และดนตรี แบบบูรณาการในลักษณะเช่นนี้ เพราะ             

                   ๑.  เป็นการส่งเสริมให้บุคลากร ได้รับความรู้ และประสบการณ์ เพื่อพัฒนาศักยภาพ            และนำความรู้มาบูรณาการกับการปฎิบัติงานในองค์กรในอนาคต

                   ๒.  เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี หรือสร้างเครือข่ายทางพันธมิตรทางด้านศิลปะวัฒนธรรมระหว่างประเทศไทยกับประชาคมโลก

 

 

                                                                  

                                                                   ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ

 

                                                                  

                                                                                นายรัฐศาสตร์   จั่นเจริฐ

                                                                นักวิชาการละครและดนตรีปฏิบัติการ