...

ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการวัฒนธรรมสัญจร “พิมาย – ภูพระบาท : วรรณกรรมสู่นิทานพื้นบ้าน”

โครงการวัฒนธรรมสัญจร

พิมาย - ภูพระบาท วรรณกรรมสู่นิทานพื้นบ้าน

.....................................

 

ความเป็นมา

                   สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์เป็นหน่วยงานในสังกัดกรมศิลปากรที่มีหน้าที่รับผิดชอบมรดกวัฒนธรรมด้านวรรณกรรม ประวัติศาสตร์ และจารีตประเพณีของชาติ ทั้งในด้านการรักษา สืบทอด สร้างสรรค์ ส่งเสริมและให้ความรู้ความเข้าใจแก่สาธารณชน  จากภารกิจดังกล่าว สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์จึงได้จัดทำโครงการวัฒนธรรมสัญจร เพื่อให้นักวิชาการและประชาชนผู้สนใจมีโอกาสศึกษา แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับวรรณกรรมและประวัติศาสตร์จากสถานที่จริง สืบเนื่องมาตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๔๗

 

หลักการและเหตุผล

                   นับแต่นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการวรรณคดีแห่งชาติขึ้น เมื่อพุทธศักราช ๒๕๕๓ เพื่อกำหนดแนวทางการบริหารจัดการมรดกวัฒนธรรมด้านวรรณคดีของชาติ  คณะกรรมการดังกล่าวมีกลุ่มภาษาและวรรณกรรม สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายเลขานุการ ได้ดำเนินงานวิชาการ จัดทำหนังสือวรรณคดีแห่งชาติ เล่ม ๑ ประวัติวรรณคดีสมัยสุโขทัย ออกเผยแพร่เมื่อพุทธศักราช ๒๕๕๖               และปัจจุบันกำลังจัดทำหนังสือวรรณคดีแห่งชาติ เล่ม ๒ ประวัติวรรณคดีสมัยอยุธยา  ซึ่งมีชื่อสถานที่ในภาค อีสานนำมาจากวรรณคดีสมัยอยุธยา โดยเฉพาะวรรณคดีที่เคยถูกจัดเป็นวรรณกรรมท้องถิ่น  เช่น  เรื่องนางอุษา - ท้าวบารส  เรื่องท้าวปาจิต - นางอรพิม  ซึ่งเรื่องราวดังกล่าวนับวันแต่จะเลือนหายจากความทรงจำของชาวไทย          สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์จึงเห็นสมควรกำหนดจัดโครงการวัฒนธรรมสัญจร “พิมาย - ภูพระบาท วรรณกรรมสู่นิทานพื้นบ้าน”เป็นการเดินทางไปศึกษาสถานที่และสภาพแวดล้อมของเมืองต่างๆ ในภาคอีสานเมื่อครั้งอดีต  ได้แก่  พิมาย อุดรธานี หนองคาย และบุรีรัมย์ ด้วยการบูรณาการความรู้ทั้งด้านวรรณคดี ประวัติศาสตร์และโบราณคดี ประกอบการบรรยายทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้นักวิชาการและประชาชนที่ร่วมโครงการประจักษ์และตระหนักในคุณค่ามรดกวัฒนธรรมของชาติ

 

วัตถุประสงค์

๑.      เพื่อเผยแพร่ความรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวรรณคดีสมัยอยุธยาและอีสาน

๒.      เพื่อบูรณาการข้อมูลเกี่ยวกับวรรณคดีและประวัติศาสตร์ ประมวลเป็นองค์ความรู้เพื่อการอ้างอิงทางวิชาการ

๓.      เพื่อให้ผู้ร่วมโครงการมีประสบการณ์ตรงจากสถานที่จริง ซึ่งจะเป็นผลให้ตระหนักในคุณค่า รักและหวงแหนมรดกวัฒนธรรมของชาติ

๔.      เพื่อนำข้อมูลจากการดำเนินโครงการมาพัฒนาการทำงานของสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์

 

 

 

เป้าหมาย

                   ผู้เข้าร่วมโครงการประมาณ ๖๐ คน แบ่งเป็น

๑.      นักวิชาการ ครู อาจารย์ และประชาชนทั่วไป จำนวน ๔๕ คน

๒.      คณะกรรมการวรรณคดีแห่งชาติ สื่อมวลชน และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ๑๕ คน

 

ขั้นตอนการดำเนินงาน

๑.      ศึกษาและรวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์และวรรณกรรม (ต.ค. - พ.ย. ๒๕๕๗)

๒.      ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องและการสำรวจเส้นทาง (ต.ค. ๒๕๕๗)

๓.      ประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรม (พ.ย. ๒๕๕๗)

๔.      รับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรม (พ.ย. ๒๕๕๗)

๕.      เดินทางตามโครงการวัฒนธรรมสัญจร “พิมาย - ภูพระบาท วรรณกรรมสู่นิทานพื้นบ้าน”(ธ.ค. ๒๕๕๗)

๖.      ประเมินผลการดำเนินงาน (ม.ค. ๒๕๕๘)

 

ผู้รับผิดชอบโครงการ

                   กลุ่มภาษาและวรรณกรรม สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์

 

งบประมาณ

                   ๒๐๐,๐๐๐ บาท (สองแสนบาทถ้วน) จากงบประมาณประจำปี ๒๕๕๘  ของสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.      ผู้ร่วมโครงการได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวรรณคดี ประวัติศาสตร์ และสภาพแวดล้อมของภาคอีสาน

๒.      ผู้ร่วมโครงการมีความซาบซึ้งและเห็นคุณค่าของมรดกวัฒนธรรม ทั้งด้านวรรณคดี ประวัติศาสตร์ โบราณคดี และวัฒนธรรมชุมชนในปัจจุบัน

๓.      สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ได้ข้อสรุปที่จะนำมาปรับปรุงกำหนดทิศทางการดำเนินโครงการในครั้งต่อไป

 

กำหนดการวัฒนธรรมสัญจร

พิมาย - ภูพระบาท วรรณกรรมสู่นิทานพื้นบ้าน

วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ - วันเสาร์ที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗

...............................

 

วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗

เวลา ๐๖.๓๐ น.                     - ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ โดยรถยนต์ปรับอากาศไปอุทยานประวัติศาสตร์

                                            พิมาย บรรยายเรื่องเส้นทางอารยธรรมขอมและวรรณกรรมพื้นถิ่นอีสาน

เวลา ๑๑.๓๐ น.                     -  ถึงอำเภอพิมาย  จังหวัดนครราชสีมา

                                       - รับประทานอาหารกลางวัน ณ ร้านอาหารใบเตย

เวลา ๑๒.๓๐ น.                     - ศึกษาแหล่งโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ณ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย 

                                        วิทยากร นายดุสิต  ทุมมากรณ์ และนายทศพร  ศรีสมาน

เวลา ๑๔.๓๐ น.                     - ออกเดินทางไปจังหวัดอุดรธานี

เวลา ๑๙.๐๐ น.                     - รับประทานอาหารค่ำ ณ ร้านข้าวต้มเพิ่มพูน จังหวัดอุดรธานี

เวลา ๒๐.๐๐ น.                     - เข้าที่พัก ณ โรงแรมเดอะ พรรณราย อุดรธานี

 

วันศุกร์ที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗

เวลา ๐๘.๓๐ น.                     - ออกเดินทางจากที่พักสู่แหล่งมรดกโลกบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี

เวลา ๑๐.๐๐ น.                     - ศึกษาประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ เรียนรู้แหล่งมรดกโลกวัฒนธรรม

                                           บ้านเชียง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง  และหลุมขุดค้นวัดโพธิ์ศรีใน

                                        วิทยากร นางสาวสิรินทร์  ย้วนใยดี  นางสาวพรเพ็ญ  บุญญาทิพย์ และ

                                        นายทศพร  ศรีสมาน

                                      - เข้าชมหัตถกรรมพื้นบ้าน ณ โรงทอผ้าไทพวน

เวลา ๑๒.๐๐ น.                     - รับประทานอาหารกลางวัน ณ ร้านอาหารกัลยา

เวลา ๑๓.๐๐ น.                     - ออกเดินทางไปภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี

เวลา ๑๕.๐๐ น.                     - ศึกษาประวัติศาสตร์ ความสำคัญของรอยพระพุทธบาท ณ วัดพระพุทธบาทบัวบก

เวลา ๑๕.๓๐ น.                     - เดินทางสู่อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท

เวลา ๑๕.๔๕- ๑๗.๓๐ น.           - ศึกษาแหล่งประวัติศาสตร์และมรดกทางวัฒนธรรมของอุทยานประวัติศาสตร์            

                                            ภูพระบาท

                                          วิทยากร นางสาวเสริมสุข  ประกฤติภูมิ และนายวัฒนา พรหมวิชัย

เวลา ๑๗.๓๐ – ๑๙.๓๐ น.          - พิธีเปิดโครงการวัฒนธรรมสัญจร “พิมาย –ภูพระบาท:วรรณกรรมสู่                                                 นิทานพื้นบ้าน โดยอธิบดีกรมศิลปากร (นายบวรเวท  รุ่งรุจี)

                                        ฟังการบรรยาย “วรรณคดีอยุธยาและวรรณคดีอีสาน”

  วิทยากร รองศาสตราจารย์เสาวณิต  วิงวอน

  นายบุญเตือน ศรีวรพจน์  และคณะกรรมการวรรณคดีแห่งชาติ

- ชมการแสดงจากวิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์และรับประทานอาหารมื้อค่ำ

 

 

                                     

เวลา ๑๙.๓๐ น.                     - ออกเดินทางสู่จังหวัดหนองคาย

เวลา ๒๐.๓๐ น.                     - เข้าที่พัก ณ โรงแรมแกรนด์ พาราไดซ์ หนองคาย

 

วันเสาร์ที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗

เวลา ๐๘.๓๐ น.                     - ออกเดินทางจากที่พัก

เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น.          - ศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปกรรม ณ โบราณสถานวัดพระธาตุบังพวน

  อำเภอเมือง  จังหวัดหนองคาย

- ศึกษาเรียนรู้ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ณ โบราณสถานเวียงคุก

  วิทยากร นายทศพร  ศรีสมาน

เวลา ๑๒.๐๐ น.                     - รับประทานอาหารกลางวัน ที่ร้านแดงแหนมเนือง

เวลา ๑๓.๐๐ น.                     - เข้านมัสการหลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย

เวลา ๑๓.๓๐ น.                     - ชมวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชนริมฝั่งโขง บริเวณท่าเสด็จ

  อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

เวลา ๑๖.๐๐ น.                     - เข้าที่พัก ณ โรงแรมแกรนด์ พาราไดซ์ หนองคาย

เวลา ๑๗.๓๐ น.                     - ออกเดินทางสู่สถานีรถไฟหนองคาย

เวลา ๑๘.๒๐ น.                     - เดินทางกลับกรุงเทพฯ โดยรถไฟ ขบวนเลขที่๗๐ ประเภทรถด่วนชั้น ๒

  นั่งและนอนปรับอากาศ

  ถึงกรุงเทพฯ เวลา ๐๖.๐๐ น. ของวันอาทิตย์ที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗

(จำนวนผู้เข้าชม 226 ครั้ง)