...

รำวงมาตรฐาน
ชื่อ รำวงมาตรฐาน
ประเภทการแสดง รำ (รำหมู่)
ประวัติที่มา

รำวงมาตรฐาน เป็นการแสดงที่มีวิวัฒนาการมาจาก “ รำโทน “ เป็นการรำและร้องของชาวบ้าน ซึ่งจะมีผู้รำทั้งชาย และหญิง รำกันเป็นคู่ ๆ รอบ ครกตำข้าวที่วางคว่ำไว้ หรือไม่ก็รำกันเป็นวงกลม โดยมีโทนเป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ ลักษณะการรำ และร้องเป็นไปตามความถนัด ไม่มีแบบแผนกำหนดไว้ คงเป็นการรำ และร้องง่าย ๆ มุ่งเน้นที่ความสนุกสนานรื่นเริงเป็นสำคัญ เช่น เพลงช่อมาลี เพลงยวนยาเหล เพลงหล่อจิงนะดารา เพลงตามองตา เพลงใกล้เข้าไปอีกนิด ฯลฯ ด้วยเหตุที่การรำชนิดนี้มีโทนเป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ จึงเรียกการแสดงชุดนี้ว่า “ รำโทน “

ต่อมาเมื่อปีพ.ศ. ๒๔๘๗ ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี รับบาลตระหนักถึงความสำคัญของการละเล่นรื่นเริงประจำชาติ และเห็นว่าคนไทยนิยมเล่นรำโทนกันอย่างแพร่หลาย ถ้าปรับปรุงการเล่นรำโทนให้เป็นระเบียบทั้งเพลงร้องลีลาท่ารำ และการแต่งกาย จำทำให้การเล่นรำโทนเป็นที่น่านิยมมากยิ่งขึ้น จึงได้มอบหมายให้กรมศิลปากรปรับปรุงรำโทนเสียใหม่ให้เป็นมาตรฐาน มีการแต่งเนื้อร้อง ทำนองเพลงและนำท่ารำจากแม่บทมากำหนดเป็นท่ารำเฉพาะแต่ละเพลงอย่างเป็นแบบแผน

       รำวงมาตรฐาน ประกอบด้วยเพลงทั้งหมด ๑๐ เพลง กรมศิลปากรแต่งเนื้อร้องจำนวน ๔ เพลง คือ เพลงงามแสงเดือน เพลงชาวไทย เพลงรำซิมารำ เพลงคืนเดือนหงาย ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม แต่งเนื้อร้องเพิ่มอีก ๖ เพลง คือ เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ เพลงดอกไม้ของชาติ เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า เพลงหญิงไทยใจงาม เพลงบูชานักรบ เพลงยอดชายใจหาญ ส่วนทำนองเพลงทั้ง ๑๐ เพลง กรมศิลปากร และกรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้แต่ง
       จากการสัมภาษณ์นางสุวรรณี ชลานุเคราะห์ ศิลปินแห่งชาติ สาชาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ไทย) ปีพุทธศักราช ๒๕๓๓ อธิบายว่า “ท่ารำเพลงรำวงมาตรฐานประดิษฐ์ท่ารำโดย นางลมุล ยมะคุปต์ นางมัลลี คงประภัศร์ และนางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป ส่วนผู้คิดประดิษฐ์จังหวะเท้าของเพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ คือนางจิตรา ทองแถม ณ อยุธยา อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสังคีตศิลป ปัจจุบันคือ วิทยาลัยนาฏศิลป ปีพ.ศ.๒๔๘๕ – ๒๔๘๖
       เมื่อปรับปรุงแบบแผนการเล่นรำโทนให้มีมาตรฐาน และมีความเหมาะสม จึงมีการเปลี่ยนแปลงชื่อจากรำโทนเป็น “รำวงมาตรฐาน” อันมีลักษณะการแสดงที่เป็นการรำร่วมกันระหว่างชาย – หญิง เป็นคู่ ๆ เคลื่อนย้ายเวียนไปเป็นวงกลม มีเพลงร้องที่แต่งทำนองขึ้นใหม่ มีการใช้ทั้งวงปี่พาทย์บรรเลงเพลงประกอบ และบางเพลงก็ใช้วงดนตรีสากลบรรเลงเพลงประกอบ ซึ่งเพลงร้องที่แต่งขึ้นใหม่ทั้ง ๑๐ เพลง มีท่ารำที่กำหนดไว้เป็นแบบแผนคือ
- เพลงงามแสงเดือน ท่าสอดสร้อยมาลา- เพลงชาวไทย ท่าชักแป้งผัดหน้า- เพลงรำมาซิมารำ ท่ารำส่าย- เพลงคืนเดือนหงาย ท่าสอดสร้อยมาลาแปลง- เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ ท่าแขกเต้าเข้ารัง และท่าผาลาเพียงไหล่- เพลงดอกไม้ของชาติ ท่ารำยั่ว- เพลงหญิงไทยใจงาม ท่าพรหมสี่หน้า และท่ายูงฟ้อนหาง- เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า ท่าช้างประสานงา และท่าจันทร์ทรงกลดแปลง- เพลงยอดชายใจหาญ หญิงท่าชะนีร่ายไม้ ชายท่าจ่อเพลิงกัลป์- เพลงบูชานักรบ หญิงท่าขัดจางนาง และท่าล่อแก้ว ชายท่าจันทร์ทรงกลดต่ำ และท่าขอแก้ว
       รำวงมาตรฐานนิยมเล่นในงานรื่นเริงบันเทิงต่าง ๆ และยังนิยมนำมาใช้เล่นแทนการเต้นรำ สำหรับเครื่องแต่งกายก็มีการกำหนดการแต่งกายของผู้แสดงให้มีระเบียบด้วยการใช้ชุดไทย และชุดสากลนิยม โดยแต่งเป็นคู่ รับกันทั้งชายและหญิง อาทิ ผู้ชายนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อคอกลม มีผ้าคาดเอว ผู้หญิงนุ่งโจงกระเบน ห่มสไบอัดจีบ ผู้ชายนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อราชประแตน ผู้หญิงแต่งชุดไทยแบบรัชกาลที่ ๕ ผู้ชายแต่งสูท ผู้หญิงแต่งชุดไทยเรือนต้น หรือไทยจักรี
       รำวงมาตรฐาน เป็นการรำที่ได้รับความนิยมสืบมาจนถึงปัจจุบัน มักนิยมนำมาใช้หลังจากจบการแสดง หรือจบงานบันเทิงต่าง ๆ เพื่อเชิญชวนผู้ร่วมงานออกมารำวงร่วมกัน เป็นการแสดงความสามัคคีกลมเกลียว อีกทั้งยังเป็นที่นิยมของชาวต่างชาติในการออกมารำวงเพื่อความสนุกสนาน

การแสดงรำวงมาตรฐานมีผู้แสดงครั้งแรกดังนี้
 
นายอาคม สายาคม
นายจำนง พรพิสุทธิ์
นายธีรยุทธ ดวงศรี
นางสุวรรณี ชลานุเคราะห์
นางศิริวัฒน์ ดิษยนันทน์
นางสาวสุนันทา บุณยเกตุ
 
รูปแบบ และลักษณะการแสดง
       รำวงมาตรฐาน เป็นการรำหมู่ประกอบด้วยผู้แสดง ๘ คน ท่ารำประดิษฐ์ขึ้นจากท่ารำมาตรฐานในเพลงแม่บท ความสวยงามของการรำอยู่ที่กระบวนท่ารำที่มีลักษณะเฉพาะในแต่ละเพลง และเครื่องแต่งกายไทยสมัยต่าง ๆ รวมทั้งรูปแบบการแสดงในลักษณะการแปรแถวเป็นวงกลม
Get the Flash Player to see this player.

การรำแบ่งเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ได้ดังนี้

  • ขั้นตอนที่ ๑
ผู้แสดงชาย และหญิงเดินออกมาเป็นแถวตรงสองแถวหันหน้าเข้าหากัน ต่างฝ่ายทำความเคารพด้วยการไหว้
  • ขั้นตอนที่ ๒
รำแปรแถวเป็นวงกลมตามทำนองเพลง และรำตามบทร้องรวม ๑๐ เพลง โดยเปลี่ยนท่ารำไปตามเพลงต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่เพลงงามแสงเดือน เพลงชาวไทย เพลงรำซิมารำ เพลงคืนเดือนหงาย เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ เพลงดอกไม้ของชาติ เพลงหญิงไทยใจงาม เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า เพลงยอดชายใจหาญ และเพลงบุชานักรบ

 

  • ขั้นตอนที่ ๓
เมื่อรำจบบทร้องในเพลงที่ ๑๐ ผู้แสดงรำเข้าเวที ทีละคู่ตามทำนองเพลงจนจบ
ดนตรี และเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง
       ใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม
       เพลงที่ใช้ประกอบการแสดงได้แก่ เพลงงามแสงเดือน เพลงชาวไทย เพลงรำซิมารำ เพลงคืนเดือนหงาย เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ เพลงดอกไม้ของชาติ เพลงหญิงไทยใจงาม เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า เพลงยอดชายใจหาญ และเพลงบูชานักรบ
เครื่องแต่งกาย
       เครื่องแต่งกายของรำวงมาตรฐาน ประกอบด้วย ๔ แบบดังนี้
  • แบบที่ ๑ แบบชาวบ้าน
ชาย นุ่งผ้าโจงกระเบน สวมเสื้อคอพวงมาลัย เอวคาดผ้าห้อยชายด้านหน้าหญิง นุ่งโจงกระเบน ห่มผ้าสไบอัดจีบ ปล่อยผม ประดับดอกไม้ที่ผมด้านซ้าย คาดเข็มขัด ใส่เครื่องประดับ
  • แบบที่ ๒ แบบรัชกาลที่ ๕
ชาย นุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อราชประแตน ใส่ถุงเท้า ร้องเท้าหญิง นุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อลูกไม้ สไบพาดบ่าผูกเป็นโบว์ ทิ้งชายไว้ข้างลำตัวด้านซ้าย ใส่เครื่องประดับมุก
  • แบบที่ ๓ แบบสากลนิยม
ชาย นุ่งกางเกง สวมสูท ผูกไท้หญิง นุ่งกระโปรงป้ายข้าง ยาวกรอมเท้า ใส่เสื้อคอกลม แขนกระบอก
  • แบบที่ ๔ แบบราตรีสโมสร
ชายนุ่งกางเกง สวมเสื้อพระราชทาน ผ้าคาดเอวห้อยชายด้านหน้าหญิงนุ่งกระโปรงยาวจีบหน้านาง ใส่เสื้อจับเดรป ชายผ้าห้อยจากบ่าลงไปทางด้านหลัง เปิดไหล่ขวา ศีรษะทำผมเกล้าเป็นมวยสูง ใส่เกี้ยวและเครื่องประดับ
 

 
บทร้องรำวงมาตรฐาน
 
๑. เพลงงามแสงเดือน
งามแสงเดือนมาเยือนส่องหล้า
เราเล่นกันเพื่อนสนุก
ขอให้เล่นฟ้อนรำ
งามใบหน้ามามาอยู่วงรำ
เปลื้องทุกไม่วายระกำ
เพื่อสามัคคีเอย
   
๒. เพลงชาวไทย
ชาวไทยเจ้าเอ๋ย
การที่เราได้เล่นสนุก
เพราะชาติเราได้เสรี
เราจึงควรช่วยชูชาติ
เพื่อความสุขเพิ่มพูน
ขออย่าละเลยในการทำหน้าที่
เปลื้องทุกข์สบายอย่างนี้
มีเอกราชสมบูรณ์
ให้เก่งกาจเจิดจำรูญ
ของชาวไทยเอย
   
๓. รำมาซิมารำ
รำมาซิมารำ
ยามงานเราทำงานจริงๆ
ถึงยามว่างเราจึงรำเล่น
ตามเยี่ยงอย่างตามยุค
เล่นอะไรให้มีระเบียบ
มาซิมาเจ้าเอ๋ย มาฟ้องรำ
เริงระบำกันให้สนุก
ไม่ละไม่ทิ้งจะเกิดเข็ญขุก
ตามเชิงเช่นเพื่อให้สร่างทุกข์
เล่นสนุกอย่างวัฒนธรรม
ให้งามให้เรียบจึงจะคมขำ
มาเล่นระบำของไทยเราเอย
   
๔. เพลงคืนเดือนหงาย
ยามกลางคืนเดือนหงาย
เย็นอะไรก็ไม่เย็นจิต
เย็นร่มธงไทย ปกไทยทั่วหล้า
เย็นพระพายโบกพลิ้วปลิวมา
เท่าเย็นผูกมิตรไม่เบื่อระอา
เย็นยิ่งน้ำฟ้ามาประพรมเอย
   
๕. เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ
ดวงจันทร์วันเพ็ญ
ทรงกลดสดสี
แสงจันทร์อร่าม
ไม่งามเท่าหน้า
งามวงพักตร์ยิ่งด้วยจันทรา
วาจากังวาน
รูปทรงสมส่วน
สมเป็นดอกไม้
ลอยเด่นอยู่ในนภา
รัศมีทอแสงงามตา
ฉายงามส่องฟ้า
นวลน้องยองใย
จริตกิริยานิ่งนวลละไม
อ่อนหวานจับใจ
ยั่วยวนหทัย
ขวัญใจชาติเอย
   
๖. เพลงดอกไม้ของชาติ
ขวัญใจดอกไม้ของชาติ
๑. เอวองค์อ่อนงาม
ชี้ชาติไทยเนาถิ่น
๒. งานสุกสิ่งสามารถ
ดำเนินตามนโยบาย
งามวิลาศนวยนาฏร่ายรำ (๒ เที่ยว)
ตามแบบนาฏศิลป์
เจริญวัฒนธรรม
สร้างชาติช่วยชาย
สู่ทนเหนื่อยยากตรากตรำ
   
๗. เพลงหญิงไทยใจงาม
เดือนพราว ดาวแวววาวระยำ
ดวงหน้าหน้าโสภาเพียงเดือนเพ็ญ
ขวัญใจหญิงไทยส่งศรีชาติ
เกียรติยศก้องปรากฏทั่วคาม
แสงดาวประดับ ส่องให้เดือนงามเด่น
คุณความดีที่เห็นเสริมให้เด่นเลิศงาม
รูปงามพิลาศใจกล้ากาจเริงนาม
หญิงไทยใจงาม ยิ่งเดือนดาวพราวแพรว
   
๘. เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า
ดวงจันทร์ขวัญฟ้า
จันทร์ประจำราตรี
ที่เทิดทูนคือชาติ
ถนอมแบบสนิทใน
ชื่นชีวาขวัญพี่
แต่ขวัญพี่ประจำใจ
เอกราชอธิปไตย
คือขวัญใจพี่เอย
   
๙. เพลงยอดชายใจหาญ
โอ้ยอดชายใจหาญ
น้องขอร่วมชีวี
แม้สุดยากลำเค็ญ
น้องจักสู้พยายาม
ขอสมานไมตรี
กอบกรณีย์กิจชาติ
ไม่ขอเว้นเดินตาม
ทำเต็มความสามารถ
   
๑๐. เพลงบูชานักรบ
น้องรัก รักบูชาพี่
เป็นนักสู้เชี่ยวชาญ
น้องรัก รักบูชาพี่
หนักแสนหนัก พี่ผจญ
น้องรัก รักบูชาพี่
บากบั่นสร้างหลักฐาน
น้องรัก รักบูชาพี่
เลือดเนื้อพี่ พลีอุทิศ
ที่มั่งคงกล้าหาญ
สมศักดิ์ชาตินักรบ
ที่มานะอดทน
เกียรติพี่ขจรจบ
ที่ขยันกิจการ
ทำทุกด้าน ทำทุกด้านครันครบ
ที่รักชาติที่รักชาติยิ่งชีวี
ชาติยงอยู่ ยงอยู่คู่พิภพ
 
โอกาสที่ใช้แสดงเผยแพร่ให้แก่ประชาชนชม และแสดงในงานรื่นเริงต่างๆ
ดาวน์โหลดไฟล์: test.jpeg
ตัวอย่างไฟล์แนบ PDF:

(จำนวนผู้เข้าชม 741627 ครั้ง)