...

โบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนในเขตพื้นที่สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช

     ชื่อเรื่อง : โบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนในเขตพื้นที่สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช

     ผู้แต่ง : นภัคมน ทองเฝือ 

     สำนักพิมพ์ : สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช กรมศิลปากร

     ปีพิมพ์ : 2563

     เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : 978-616-283-484-4

     เลขเรียกหนังสือ : 959.38 ศ528บ

     ประเภทหนังสือ : หนังสือกรมศิลปากร

     ห้องบริการ : ห้องหนังสือทั่วไป 1

 

สาระสังเขป : สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช เป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดของกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบงานของกรมศิลปากร ทั้งการศึกษาค้นคว้า อนุรักษ์พัฒนา และคุ้มครองปกป้องโบราณสถานอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมสำคัญของชาติในเขตพื้นที่ภาคใต้      ตอนบนของประเทศไทย ประกอบด้วย พื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร ระนอง สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา กระบี่ และภูเก็ต ซึ่งมีโบราณสถาน  ที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนแล้ว จำนวน 113 แห่ง และมีโบราณสถานที่ได้รับการสำรวจพบแต่ยังไม่ประกาศขึ้นทะเบียน จำนวน 747 แห่ง      ด้วยเล็งเห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของโบราณสถานของชาติจึงคัดเลือกโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนแล้วในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักศิลปากรที่12นครศรีธรรมราช ดำเนินการจัดพิมพ์เป็นหนังสือ "โบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนในเขตพื้นที่สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช" โดยนำเสนอถึงที่ตั้ง ประวัติและความสำคัญ อายุสมัย และการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ซึ่งจัดแยกตามพื้นที่จังหวัด ได้แก่ (1) จังหวัดชุมพร 9 แห่ง เช่น โบราณสถานมาลิกเจดีย์ เกาะมัตโพน / โบราณสถานวัดเขาเจดีย์ / โบราณสถานภูเขารับร่อ (วัดเทพเจริญ) / โบราณสถานพระธาตุมุจลินทร์ เป็นต้น          (2) จังหวัดระนอง 7 แห่ง เช่น โบราณสถานอาคารศาลากลางจังหวัดระนอง (พระที่นั่งรัตนรังสรรค์) / โบราณสถานกำแพงจวนเจ้าเมืองระนอง / โบราณสถานสุสานเจ้าเมืองระนอง เป็นต้น (3) จังหวัดนครศรีธรรมราช 34 แห่ง เช่น โบราณสถานกำแพงเมืองนครศรีธรรมราช / โบราณสถานหอพระนารยณ์ / โบราณสถานศาลพระเสื้อเมือง / โบราณสถานวัดเสมาเมือง / โบราณสถานพระเจดีย์ยักษ์ / โบราณสถานตึกรัตนธัช วัดท่าโพธิ์ วรวิหาร / โบราณสถานจารึกหุบเขาช่องคอย เป็นต้น (4) จังหวัดสุราษฎ์ธานี 31 แห่ง เช่น โบราณสถานวัดพระบรมธาตุไชยา ราชวรวิหาร / โบราณสถานเขาสายสมอ / โบราณสถานเขาประสงค์ (ถ้ำใหญ่-ถ้ำน้อย) / โบราณสถานเขาพระนารายณ์ (เขาศรีวิชัย) / โบราณสถานเมืองเวียงสระ (เมืองโบราณเวียงสระ) เป็นต้น (5) จังหวัดพังงา 19 แห่ง เช่น โบราณสถานจวนผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา / โบราณสถานเจดีย์เขาล้างบาตร์ โบราณสถานทุ่งตึก / โบราณสถานที่ว่าการอำเภอตะกั่วป่า (หลังเก่า) / โบราณสถานถ้ำสุวรรณคูหา เป็นต้น (6) จังหวัดกระบี่ 3 แห่ง เช่น โบราณสถานแหล่งโบราณคดีเขาหน้าวังหมี / โบราณสถานถ้ำผีหัวโต เป็นต้น และ (7) จังหวัดภูเก็ต 10 แห่ง เช่น โบราณสถานอาคารศาลจังหวัดภูเก็ต / โบราณสถานสำนักงานขายประจำประเทศไทย ภาคใต้ตอนบน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) / โบราณสถานที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข (หลังเก่า) / โบราณสถานโรงเรียนภูเก็ต   ไทยหัว เป็นต้น นอกจากรายละเอียแล้วยังมีข้อมูลแผนผังการขึ้นทะเบียนโบราณสถานแต่ละแห่งเพิ่มเติมด้วย เพื่อเป็นฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีของภาคใต้ รวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลโบราณสถานที่สำคัญให้แพร่หลาย และเป็นประโยชน์ในการปกป้องคุ้มครองโบราณสถานอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่สืบไป

(จำนวนผู้เข้าชม 890 ครั้ง)