...

สารสกัดสมุนไพรชาวชอง : แหล่งกำเนิด วิธีการ สรรพคุณ

 

     

     ชื่อเรื่อง : สารสกัดสมุนไพรชาวชอง : แหล่งกำเนิด วิธีการ สรรพคุณ

     ผู้แต่ง : สุรัสวดี  สินวัต

     สำนักพิมพ์ : สำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน

     ปีพิมพ์ : 2562

     เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : 978-974-3812-89-7

     เลขเรียกหนังสือ : 615.321 ส857ส

     ประเภทหนังสือ : หนังสือทั่วไป

     ห้องบริการ : ห้องหนังสือทั่วไป 1

 

สาระสังเขป : ชาวชองเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมของจังหวัดจันทบุรี ที่อาศัยในพื้นที่แห่งนี้เชื่อกันว่ายาวนานกว่าพันปี มีวิถีชีวิตในเขตป่าเขาทุรกันดารเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ออสโตร-เอเชียติก ตระกูลมอญ-เขมร นับถือศาสนาพุทธควบคู่ไปกับความเชื่อเรื่องผี มีภาษาพูดของตนเองแต่ไม่มีภาษาเขียน มีการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ รู้จักใช้ทรัพยากรจากป่า    เป็นเครื่องดำรงชีพ เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย สมุนไพรรักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม และหัตถกรรมต่างๆ โดย "สารสกัดสมุนไพรชาวชอง : แหล่งกำเนิด วิธีการ สรรพคุณ" ได้รวบรวมและนำเสนอเรื่องราวของสมุนไพรชองที่ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อวัฒนธรรมสุขภาพชาวชองที่ทำให้มีสุขภาพดีอายุยืนยาว สมุนไพรชาวชองนี้ได้มีการนำไปผลิตเป็นยาทั้งแผนไทยและแผนปัจจุบันมากมาย หากแต่ในสังคมปัจจุบันสมุนไพรชองที่เคยอุดมสมบูรณ์ในเขตพื้นที่ทำกินของชาวบ้านได้ถูกทำลายสูญหาย เพราะต้องใช้พื้นที่ในการทำ    การเกษตร การแปรรูปสมุนไพรจึงเป็นทางเลือกที่ถูกนำมาใช้ โดยเนื้อหาประกอบไปด้วย ความเป็นมาและความสำคัญของพืชสมุนไพรชอง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสมุนไพร  เช่น การจำแนกพืชสมุนไพร กลุ่มสมุนไพร การกำหนดสรรพคุณยาสมุนไพร เป็นต้น รูปแบบและวิธีการสกัดสมุนไพร การแปรรูปด้วยวิธีการสกัดสมุนไพรและการออกแบบโลโก้ผลิตภัณฑ์ การแปรรูปด้วยวิธีการสกัดสมุนไพรประเภทต่างๆ ได้แก่ ทองพันชั่ง ปลาไหลเผือก ชุมเห็ดเทศ พริกไทยดำ เร่ว ไพล สาบเสือ เถาวัลย์เปรียง กะบก กะวาน เป็นต้น นอกจากนี้ยังนำเสนอผลวิเคราะห์ประกอบทางเคมีของพืชสมุนไพรกระวาน พริกไทยดำ ปลาไหลเผือก เร่ว ชุมเห็ดเทศ พิลังกาสา ชองระอา กำแพงเจ็ดชั้น เต่ารั้ง เต่าเกียด    ซึ่งการสกัดและแปรรูปสมุนไพรชองเป็นทางเลือกที่สำคัญทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้สามารถเก็บรักษาให้มีอายุยืนนาน นำไปใช้ประโยชน์ในการทำผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ ส่งเสริมเกษตรกรหันมาปลูกสมุนไพรชองเพื่อรักษาและอนุกรักษ์ไว้ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติอันมีคุณค่าและประโยชน์ทั้งทางสุขภาพ สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ

(จำนวนผู้เข้าชม 908 ครั้ง)