...

ภาพสลักโยคี ณ ปราสาทพนมรุ้ง

 

     ชื่อเรื่อง : ภาพสลักโยคี ณ ปราสาทพนมรุ้ง

     ผู้เขียน : กมลวรรณ นิธินันท์

     สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา อุทยาน

     ประวัติศาสตร์พนมรุ้ง 

     ปีพิมพ์ : 2563

     เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : 978-616-283-494-3

     เลขเรียกหนังสือ : 726.7845 ก137ภ

     ประเภทหนังสือ : หนังสือที่จัดพิมพ์โดยกรมศิลปากร

     ห้องบริการ : ห้องหนังสือทั่วไป 1

 

สาระสังเขป : ปราสาทพนมรุ้ง เป็นโบราณสถานที่ทรงคุณค่าและมีความสำคัญอันโดดเด่นแห่งหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งการสร้างปราสาทบนยอดภูเขาตามลักษณะทางภูมิศาสตร์นั้นเปรียบได้คือ การสร้างเทวาลัยของพระศิวะบนโลก มีศิวลึงค์เป็นประธานของศาสนสถาน ภาพแกะสลักสะท้อนเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระศิวโดยมีนเรนทราทิตย์ในฐานะเป็นอวตารและศาสดาผู้สืบทอดคำสั่งสอนของลัทธิไศวะนิกาย ภาพสลักที่ปรากฎแก่สายตา ณ ปราสาทพนมรุ้งมีความสัมพันธ์เกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู อย่างที่ไม่เคยปรากฏ ณ ที่แห่งใดมาก่อน เรื่องราวชีวิตความเป็นอยู่ การฝึกปฏิบัติตนตามแบบแผนของไศวะ นับเป็นข้อมูลใหม่ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่ยังไม่มีการศึกษาในรายละเอียด กรมศิลปากรได้ดำเนินการศึกษาค้นคว้าด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดีและศิลปกรรมของปราสาทพนมรุ้งมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เิดเป็นอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งในพุทธศักราช 2531 โดย "ภาพสลักโยคี ณ ปราสาทพนมรุ้ง" ได้นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติและความสำคัญของปราสาทพนมรุ้ง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับลัทธิไศวะนิกาย แบบปศุปตะ ภาพสลักโยคีที่ปราสาทพนมรุ้ง : เรื่องราวของภาพสลัก (ภาพที่เกี่ยวข้องกับพระศิวะ พระวิษณุ พิธีกรรม ชีวิตประจำวัน การปฏิบัติโยคะ ภาพเนื่องในมหากาพย์มหาภารตะ มหากาพย์รามายณะ ภาพโยคีบริเวณชั้นวิมาน) เครื่องแต่งกาย ใบหน้าของโยคี ตำแหน่งภาพสลักโยคี นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิเคราะห์เรื่องราวบนภาพสลัก ทิศตะวันออก-ทิศใต้ ทิศสำคัญของเหล่าโยคี ณ ปราสาทพนมรุ้ง รายละเอียดนำเสนอพร้อมภาพประกอบสีสวยงาม ชัดเจน ซึ่งการปรากฎของภาพสลักรูปโยคีทั้งในฐานะอวตารของนเรนทราทิตย์ ภาพปรมาจารย์แห่งไศวะนิกายแบบปศุปตะ ภาพเล่าเรื่องและภาพสลักประดับสถาปัตยกรรมที่มีการสอดแทรกภาพโยคีลงไปในบริบทของเรื่องราวที่ปรากฏบริเวณส่วนต่างๆ ของปราสาทพนมรุ้งมากถึง 229 ตน แสดงให้เห็นถึงความเข้มข้นของไศวะนิกายที่ปราสาทพนมรุ้งได้อย่างแท้จริง

(จำนวนผู้เข้าชม 556 ครั้ง)