...

ปลายทางที่ "จ่องคำ"

 

     ชื่อเรื่อง : ปลายทางที่ "จ่องคำ"

     ผู้เขียน : บุญยงค์ เกศเทศ

     สำนักพิมพ์ : กากะเยียสำนักพิมพ์

     ปีพิมพ์ : 2557

     เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : 978-616-7661-17-9

     เลขเรียกหนังสือ : 305.895919054 บ532ป

     ประเภทหนังสือ : หนังสือทั่วไป

     ห้องบริการ : ห้องหนังสือทั่วไป 1

 

สาระสังเขป : สารคดีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของ "ไท-คำตี่" เรื่อง ปลายทางที่ "จ่องคำ" เป็นเสมือนบันทึกภาคสนามที่นำเสนอประสบการณ์เดินทางของผู้เขียนที่ได้เดินทางไปประเทศอินเดีย และนำเรื่องราวระหว่างทางทั้งสภาพความเป็นอยู่ สังคม วัฒนธรรมและชีวิตของผู้คนที่ได้พบมาบอกเล่าผ่านการบันทึกตั้งแต่เริ่มเดินทางจนจบการเดินทาง มีเรื่องราวมากมาย เช่น เรื่องราวการเดินทางด้วยรถปุโรทั่งที่แน่นเบียดเสียด ทำให้ผู้โดยสารต้องทั้งห้อยโหน ปีนป่ายไปนั่งบนหลังคา เกาะราวข้างๆ ผ่านเส้นทางที่โครตทรหดคล้ายกึ่งทางเกวียน : เรื่องราวของกลุ่มคนงานหญิงเมืองดุมดูมาที่ทำงานในไร่ชา คล้องสายสะพายพาดไว้ที่รองบ่า ผูกโยงสายเชือกถักแบนหนาจากขอบกระบุงคาดไว้บนหน้าผาก มีผ้าคลุมรองรับไว้อีกชั้นหนึ่งกำลังเด็ดใบชาเหวี่ยงข้ามไหล่ไปด้านหลังลงในกระบุงอย่างชำนาญ : เรื่องราวของสายน้ำโลหิตที่กั้นอาณาเขตเมืองดุมดูมา มลรัฐอัสสัม กับแขวงโลหิต รัฐอรุณาจัลประเทศ อันได้ชื่อว่าเป็นแม่น้ำสายหลักที่หล่อเลี้ยงวิถีชีวิตพี่น้องเผ่าพันธ์ไทหลายกลุ่ม ทั้งอ้ายตอน ผาแก่ โนรา ไทรง คำยัง ตลอดจนคำตี่ได้พึ่งพิงเป็นเสมือนมรดกชีวิตที่ธรรมชาติและบรรพชนถ่ายโยงความรู้สึกโอบเอื้อมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน : เรื่องราวประวัติความเป็นมาของไทคำตี่ ตามหลักฐานประวัติศาสตร์ราว พ.ศ. 2337 เคยมีอำนาจเหนือไทอาหม เนื่องจากในช่วงเวลานั้นไทอาหมเกิดการแตกแยกภายในทำให้อำนาจที่เคยมีอ่อนแอลง : เรื่องราววัฒนธรรมด้านอาหารของชาวคำตี่ ทั้งการแสวงหาอาหาร ปรุงอาหาร ถนอมอาหาร ตลอดจนศิลปะในการกินอาหารที่น่าสนใจ อาทิ "ม็อกปาเน่า" คือ การหมักปลาแดกในกระบอกไม้ไผ่ ซึ่งกระบอกไม้ไผ่ยังใช้ทำ "ล้ามปา" (ภาชนะเผาหรือต้มปลา) "ล้ามเข่า" (เผาเป็นข้าวหลาม) "เหล่า / หลุกเหล่า / น่ำเหล่า / เหล่าจะป้อ / เหล่าเข่าหนู๊หว๊าน" คือ ข้าวหมักหรือข้าวหมากที่นิยมใส่ "หย่าเหล่า" หรือ ส่าเหล้า สำหรับใส่ผสมกับข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้ว เพื่อหมักไว้สักสามถึงห้าวัน เพื่อจะได้ข้าวหมากตามต้องการ เป็นต้น : เรื่องราวของคัมภีร์ ปู่สอนหลาน เป็นหลักประพฤติ ขนบจารีตอันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบเนื่องต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น อาทิ การแต่งกาย ผู้ชายนิยมสวมเสื้อผ้าฝ้าย นุ่งโสร่งที่ทอด้วยผ้าฝ้ายหรือไหม สอดสลับสีเขียว แดง ม่วง และดำ ใช้ผ้าโพกศรีษะ คลุมเส้นผมมิให้ย้อยลงมาปรกหน้าผากหรือต้นคอ นิยมตัดผมสั้น : ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วต้องนุ่งซื่นสีดำเท่านั้น โดยมีผ้าสีเขียวสดเรียก ผ้าลังวัด พันรอบเอว ใช้ผ้าสีขาวโพกศรีษะ เสื้อสีขาวแขนยาวทรงกระบอกหรือแขนสั้นก็ได้ อาจใช้คลุมไหล่หรือห่มสไบเฉียงบ่าปิดอก ส่วนผู้หญิงที่ยังไม่แต่งงาน จะนุ่งผ้าสีใดก็ได้ ยกเว้นสีดำ นิยมสวมเสื้อสีขาวนวลกรือสีสันอื่น ผมยาวปล่อยสยายปะบ่าหรือจับรวบมัดด้วยผ้า ขมวดไว้ที่ท้านทอย ขมวดมุ่นเกล้าบ้าง เป็นต้น นอกจากรายระเอียดแล้วยังมีภาพประกอบที่ถ่ายไว้ระหว่างการเดินทางแสดงให้เห็นและเข้าใจได้อย่างชัดเจนเช่นกัน

(จำนวนผู้เข้าชม 480 ครั้ง)