บทความทางวิชาการ "จิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถ วัดภูมินทร์"
จิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถ วัดภูมินทร์ เขียนขึ้นในราวปีพุทธศักราช ๒๔๑๐-๒๔๑๗ ในสมัยพระเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน (ในช่วงต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕) เขียนด้วยเทคนิคสีฝุ่นบนรองพื้นดินสอพอง มีความสวยงาม และมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการแต่งกาย วิถีชิวิต ภาพเขียนบ่งบอกถึงวัฒนธรรมของคนในท้องถิ่นนั้น ๆ ได้อย่างชัดเจน เขียนเล่าเรื่องราว ๓ เรื่องหลักๆ พื้นที่ส่วนใหญ่เขียนเรื่อง "คัทธนกุมารชาดก"หนึ่งในปัญญาสชาดก (ชาดกนอกนิบาต) กล่าวถึงพระโพธิสัตว์คัทธนกุมารผู้ทรงมีพลังเปรียบดังพญาช้างสาร สร้างคุณงามความดี และความกตัญญูรู้คุณ เรื่องที่สองเขียนเรื่อง"เนมิราชชาดก"ชาดกชาติที่ ๔ หนึ่งในทศชาติชาดก เสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์พระเนมิราช บำเพ็ญอธิษฐานบารมี เรื่องสุดท้ายเป็นเรื่องพุทธประวัติ นอกจากนี้ยังมีภาพบุคคลที่มีขนาดเท่าจริง ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะจิตรกรรมแห่งนี้ ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวในจิตรกรรม ได้แก่ ภาพปู่ม่านย่าม่าน (ปู่ใช้เรียกแทนผู้ชาย ย่าใช้เรียกแทนผู้หญิง ม่านเรียกชาวพม่า) เป็นภาพหญิงชายแต่งกายแบบพม่า แสดงท่าทางกระซิบกัน หรือที่รู้จักกันใน"ภาพกระซิบรัก" ซึ่งเป็นภาพที่มีความโดดเด่น และนักท่องเที่ยวให้ความสนใจเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังมีภาพบุคคลชายหญิงแต่งกายเหมือนชนชั้นสูงอีกด้วย เรามาดูการจัดวางภาพเพื่อเล่าเรื่องราวต่างๆ ภายในพระอุโบสถกัน วัดภูมินทร์ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

(จำนวนผู้เข้าชม 2070 ครั้ง)