ราชพิพิธภัณฑ์ |
โบราณศึกษา และวิธีสอนหนังสือไทย![]() ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2502 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นางพวงเพ็ชร เอี่ยมสุกล โรงโบราณศึกษา กล่าวถึงวิธีการสอนและการศึกษาเล่าเรียนในสมัยโบราณ โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นข้อใหญ่ ๆ 8 ข้อ เรียกว่ามาติกา มาติกาต่าง ๆ เหล่านี้ว่าด้วยเรื่อง ตำบที่เล่าเรียน สถานที่โรงเรียน จำนวนนักเรียนและครู เวลาเรียนและหยุด เครื่องเล่าเรียน วิชาหนังสือ วิชาเลข และข้อบังคับการเรียน ส่วนเรื่องวิธีสอนหนังสือไทย กล่าวถึงวิธีสอนและวิธีเรียนหนังสือในสมัยก่อน |
ทุคตะสอนบุตร![]() ผู้แต่ง : กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพื : 2507 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายยก กุยศรีกุล มีรูปและประวัติผู้ตาย หนังสือทุคตะสอนบุตรเล่มนี้ เป็นหนังสืออนุสรณ์งานศพ ประกอบด้วยเนื้อหา 3 เรื่อง ได้แก่ ทุคตะสอนบุตร พระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส มรรยาทเล่มน้อย ของคุณหญิงดุษฎีมาลา มาลากุล และเรื่องการใช้ราชาศัพท์ จากหนังสือพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
|
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช มรดกธรรม นำสู่มรดกโลก ภาพลักษณ์จากวรรณกรรม![]() ผู้แต่ง : วิมล ดำศรี ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : นครศรีธรรมราช สำนักพิมพ์ : ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ปีที่พิมพ์ : 2557 หมายเหตุ : - นำเสนอเนื้อหาสาระสำคัญ คือ เรื่องวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช มรดกธรรมนำสู่มรดกโลก กุศโลบายการทำนุบำรุงพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ภาพลักษณ์จากวรรณกรรมมุขปาฐะ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ภาพลักษณ์จากวรรณกรรมลายลักษณ์ และวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ภาพลักษณ์จากวรรณกรรมสมัยใหม่
|
พระบรมธาตุสู่มรดกโลก![]() ผู้แต่ง : ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์ ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 4 สถานที่พิมพ์ : นครศรีธรรมราช สำนักพิมพ์ : ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ปีที่พิมพ์ : 2559 หมายเหตุ : - นำเสนอเรื่องราวของพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช เพื่อเป็นคู่มือแนะนำพระบรมธาตุโดยสังเขป ซึ่งองค์พระบรมธาตุเจดีย์นั้น ถือเป็นมรดกพุทธศิลป์ที่มีประวัติศาสตร์การสร้างที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่ยิ่งใหญ่หลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นมิติทางศาสนา มิติทางวัฒนธรรม มิติทางสถาปัตยกรรม และมิติทางประวัติศาตร์ ซึ่งสิ่งเหล่่านี้สะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการทางความเชื่อ ความคิด และภูมิปัญญาของคนในอดีตที่มีคุณค่ายิ่ง
|
พระบรมธาตุสู่มรดกโลก![]() ผู้แต่ง : ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์ และคณะ ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : นครศรีธรรมราช สำนักพิมพ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ปีที่พิมพ์ : 2552 หมายเหตุ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จัดพิมพ์เป็นบรรณาการในการนำเสนอพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชขึ้นทะเบียนมรดกโลก วันที่ 2 กันยายน 2552 รวบรวมบทความเกี่ยวกับพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ได้แก่ เรื่องพระพุทธศาสนาเถรวาทลังกาวงศ์กับการตั้งรัฐนครศรีธรรมราช ความรู้เรื่องพระธาตุเจย์ พระมหากษัตริย์กับวัดพระมหาธาตุฯ และนครศรีธรรมราช การบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารกับบทบาทการทำนุบำรุงพระบรมธาตุ ปูชนียสถานและพิพิธภัณฑสถานวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร กุศโลบายการทำนุบำรุงพระบรมธาตุของชาวนครศรีธรรมราช
|
โคลงกวีโบราณ![]() ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2506 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายฉลุมาศ อักษรมัต ณ เมรุ วัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 15 พฤศจิกายน 2503
โคลงกวีโบราณ เป็นหนังสือที่รวบรวมโคลงของกวีที่มีชื่อเสียงแต่โบราณ เป็นโคลงที่แต่งตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
|
โคลงนิราศกรุงเก่า![]() ผู้แต่ง : หลวงจักรปราณี (ฤกษ์) ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2504 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางนุ่ม กฤษณกาญจน์ ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร 26 กุมภาพันธ์ 2514. มีรูปและประวัติ ผู้ตาย โคลงนิราศกรุงเก่า เป็นโคลงนิราศเรื่องหนึ่งที่แต่งโดย หลวงจักรปราณี หรือ มหาฤกษ์ กวีที่มีชื่อเสียงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โคลงนิราศกรุงเก่าบางบทมีสำนวนโวหารที่โลดโผน |
พระจันทกินรี คำฉันท์![]() ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : - สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2507 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ มหาเสวกตรี พระยาวงศาภรณ์ภูษิต (รื่น วัชโรทัย) ท.ม. ท.จ. ต.ช. ณ เมรุวัดมุกฎกษัตริยาราม วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2507. มีรูปและประวัติผู้ตาย เป็นเนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับฉันท์ เรื่อง พระจันทกินรี คำฉันท์ |
ประชุมพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 4 หมวดปกิณณกะ ภาค 2![]() ผู้แต่ง : จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2347-2411. ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2512 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ หม่อมสาย ศรีธวัช ณ อยุธยา ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 22 มีนาคม พุทธศักราช 2512 มีรูปและประวัติผู้ตาย ประชุมพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 4 หมวดปกิณณกะ ภาค 2 นี้ มี 18 เรื่อง เช่น เรื่องระยะทางเสด็จพระราชดำเนินเมืองไชยนาท จ.ศ. 1222 (พ.ศ. 2503), เรื่องทรงมอบอำนาจในการรักษาพระนครแก่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าหัว, เรื่องประกาศพระเจดีย์ที่ถ้ำประทุน, เรื่องประกาศเรื่องพระสถูปเจดีย์ศิลาที่ทรงสถาปนาขึ้นไว้ ณ ถ้ำประทุน เป็นต้น |
ประมวลสุภาษิตพระราชนิพนธ์![]() ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2507 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางเข็ม บุนนาค เป็นการรวบรวมสุภาษิตจากพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เข้าไว้ด้วยกัน โดยจัดไว้เป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ ได้แก่ ไตรสรณคมน์ ธรรม ความชั่ว ความฉลาด ความเขลา ประมาท โลภ ความอกตัญญู กล้าหาญ ภักดี ความเพียร ความรู้สึกผิด ฯลฯ |
จดหมายเหตุพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว![]() ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2518 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรีดัด เดชะชาติ ม.ว.ม., ป.ช. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 21 ธันวาคม พุทธศักราช 2518 มีรูปและประวัติผู้ตาย จดหมายเหตุพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราวุธ มีเนื้อหาอธิบายถึงลักษณะพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอย่างละเอียด นอกจากนี้ยังอธิบายถึงงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภชต่าง ๆ ได้แก่ พิธีทำน้ำมนต์อภิเษก การแต่งตั้งเตรียมพระราชพิธีในกรุงเทพฯ การรับแขกเมืองต่างประเทศ พิธีทรงตรึงธงชัยเฉลิมพล และการเลี้ยงถวายเฉลิมพระเกียรติยศนายกเสือป่า เป็นต้น |
บทละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา![]() ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 19 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2519 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายาในรัชกาลที่ 6 พระราชนิพนธ์เรื่อง มัทนพาธา เป็นบทละครพูดคำฉันท์ 5 องค์ มีตัวละครชาวฟ้า และชาวดิน ลำดับฉากตั้งแต่ องก์ที่ 1 จนถึงจบเรื่องมัทนะพาธา ในองก์ที่ 5 |
เรื่องสั้นเกี่ยวกับประเพณีต่าง ๆ เทศกาลลอยกระทง ประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ![]() ผู้แต่ง : อนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ), พระยา, 2431-2512. ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2501 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นบรรณาการ ในงานฌาปนกิจศพ นางโสภณ อักษรกิจ (หยิน สมิตะสิริ) เรื่องสั้นเกี่ยวกับประเพณีต่าง ๆ นี้ ให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของไทย ประกอบด้วย 9 เรื่อง คือ เรื่องเล่นสาดน้ำวันสงกรานต์ เทศกาลสารท เทศกาลเข้าพรรษา เทศกาลออกพรรษา ไปพระบาท อัคนีกรีฑา เทศกาลลอยกระทง ประเพณีมีงานเทศน์มหาชาติ และ เรื่องประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ |
ราชสกุลวงศ์![]() ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 7 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2507 หมายเหตุ : พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเนย อิศรางกูร ณ อยุธยา ณ สุสานหลวง วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 1 พฤศจิกายน 2509. มีรูปและประวัติผู้ตาย ราชสกุลวงศ์ มีเนื้อหาเกี่ยวกับราชวงศ์จักรี ประกอบด้วยเรื่อง ลำดับปฐมวงศ์ พระราชโอรสและพระราชธิดา พระองค์เจ้าหลานเธอ ในราชวงศ์จักรี ประกาศคำนำหน้านามพระบรมวงศานุวงศ์ รายนามราชสกุลวงศ์ และสารบาญค้นพระนามและนามเจ้านาย เจ้าจอมมารดา จอมมารดา |
บทละคอนเรื่องพระสมุท![]() ผู้แต่ง : สมเด็จกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ, 2381-2428. ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2512 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางละม้าย จุลดุลย์ มีรูปและประวัติผู้ตาย หนังสือบทละครเรื่องพระสมุท และ ประชุมคำพากย์รามเกียรติ ภาค 7 และ 8 และภาค 9 นี้ เป็นการรวมเนื้อหาของทั้งสองเรื่องเข้าไว้ในเล่มเดียวกัน นับเป็นวรรณคดีสำคัญที่มีความไพเราะน่าอ่าน |
ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต และ ปัจจุบันพยาบาล![]() ผู้แต่ง : กรมศิลปากร ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 64 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2514 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นาวาผัน เปรมมณี ต.ช. ณ เมรุวัดธาตุทอง พระโขนง วันที่ 30 สิงหาคม พุทธศักราช 2514. มีรูปและประวัติผู้ตาย ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต และ ปัจจุบันพยาบาล ประกอบด้วยเนื้อเรื่อง ต่าง ๆ รวม 5 เรื่อง ได้แก่ ประเพณีทำบุญ ประเพณีบวชนาค ประเพณีแต่งงาน ประเพณีทำศพ และปัจจุบันพยาบาล |
นิราศปลูกฝี จังหวัดสตูล![]() ผู้แต่ง : รื่น จันทรมณี (เปรียญ) ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ศรีหงส์ ปีที่พิมพ์ : 2478 หมายเหตุ : - เป็นการบรรยายการเดินทางของผู้ที่มีอาชีพเป็นหมอ ต้องจากภรรยาสุดที่รัก เพื่อเดินทางไปทำการรักษา ให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นภาคใต้ ด้วยความยากลำบากและอันตราย ได้พบปะกับผู้คนมากมาย หลากหลายอาชีพ และมีเหตุการณ์ตื่นเต้น ต่าง ๆ หลายเหตุการณ์ |
ประวัติวัดสุวรรณคูหา ตำบลกระโสม อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา |
ประเพณีเนื่องในการตาย![]() ผู้แต่ง : อนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) 2431-2512. ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 8 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2517 หมายเหตุ : อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระครูพนมคณารักษ์ (สัมฤทธิ์ โพธิ์สป) มีรูปและประวัติผู้ตาย ประเพณีเนื่องในการตาย ประกอบด้วยเนื้อหา แบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 เหตุที่ต้องทำศพ ประกอบด้วยเรื่องเหตุของการตาย วิญญาณ เจตภูต ผี เป็นต้น ตอนที่ 2 พิธีทำศพ ประกอบด้วยเรื่อง บอกหนทาง เฝ้าผี เรื่องแมว อาบน้ำศพ แต่งตัวศพ เป็นต้น ตอนที่ 3 เผาศพ ประกอบด้วยเรื่อง ปลงศพ เผาฝังไม่ได้ ยกศพออกจากเรือน ตีหม้อน้ำและหม้อไฟนำหน้าศพ เอาโลงกระแทกเชิงตะกอน และการทำบุญ 7 วัน ภายหลังวันเผา เป็นต้น |
เสภาเรื่องอาบูหะซัน![]() ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 4 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2510 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พันโทขาบ นิลกุล ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร วันที่ 28 มกราคม พุทธศักราช 2510. มีรูปและประวัติผู้ตาย. หนังสือเสภาเรื่องอาบูหะซันนี้ นิทานเดิมอยู่ในหนังสืออาหรับราตรี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์เป็นลิลิต เรียกว่านิทราชาคริต แล้วโปรดให้พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ร่วมกับกวีอีก 10 คน แต่งเป็นเสภา สำหรับใช้ขับร้องถวายในเวลาทรงเครื่องใหญ่ |
ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต![]() ผู้แต่ง : กรมศิลปากร ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 49 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2510 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พันตำรวจโท หลวงสุนทรเขตพิทักษ์ (ยิ้ม รมยะรูป) ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 14 พฤษภาคม พุทธศักราช 2510. มีรูปและประวัติผู้ตาย หนังสือประเพณีเกี่ยวกับชีวิตเล่มนี้ มีเนื้อหา รวม 4 เรื่อง คือ 1.ประเพณีทำบุญ กล่าวถึง เรื่องทาน ศีล และภาวนา 2.ประเพณีบวชนาค 3. ประเพณีแต่งงาน และ 4. ประเพณีทำศพ |
รัตนพิมพวงศ์ ตำนานพระแก้วมรกต![]() ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 3 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2512 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางสุภาพ ตาละลักษมณ์ ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร วันที่ 14 กันยายน พุทธศักราช 2512. มีรูปและประวัติผู้ตาย เรื่องรัตนพิมพวงศ์ ว่าด้วยเรื่องตำนานพระแก้วมรกตนี้ พระภิกษุชื่อ พระพรหมราชปัญญา ได้แต่งไว้เป็นภาษาบาลี ต่อมาพระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษณ์) เปรียญ ได้แปลเป็นภาษาไทย เมื่อ พ.ศ. 2449 ในเล่มนี้ แบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 ตอน คือ ตอนอุปัตติกถา พระนาคเสน ตอน 2 รัตนพิมพกรณกถา ตอน 3 พระรัตนพิพกถาวรรณนา และตอนตั้งแต่ออกจากเมืองชิรายมาสู่เมืองนคร (ลำปา) และท้ายเล่มเป็นตำนานพระแก้วมรกต ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ สำหรับอาลักษณ์อ่านในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วันสวดมนต์เย็นพระราชพิธีศรีสัจจปานกาล และมีดุษฎีสังเวย ฉันท์กล่อมพระแก้วมรกตด้วย |
อสุเรนทรจารีต คำพากย์![]() ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 3 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2515 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงนฤบาลวรภาชน์ (มัย ไกรฤกษ์) ต.จ. ณ เมรุวัดธาตุทอง วันอังคารที่ 18 เมษายน พุทธศักราช 2515. มีรูปและประวัติผู้ตาย หนังสืออสุเรนทรจารีตคำพากย์นี้ มีเนื้อหาจัดเป็น 14 ขันธ์ ได้แก่ ขันธ์ที่ 1 อสุรพงศ์ ขันธ์ที่ 2 กุเวรสมภพ ขันธ์ที่ 3 อสุเรนทรสมภพ ขันธ์ที่ 4 ภาดายุทธ์ ขันธ์ที่ 5 อสุเรนทรเยี่ยมพิภพ ขันธ์ที่ 6 อสุเรนทรเยี่ยมบาดาล ขันธ์ที่ 7 อสุเรนทรเยี่ยมฟ้า ขันธ์ที่ 8 ประเวศลงกา ขันธ์ที่ 9 อสุเรนทรเยี่ยมไกลาศ ขันธ์ที่ 10 เทวาสุรสงคราม ขันธ์ที่ 11 พญาราพณ์กับพระอรชุน ขันธ์ที่ 12 พญาราพณ์กับพาลี ขันธ์ที่ 13 วานรพงศ์ และขันธ์ที่ 14 หรหมบุตรทำนาย |
ความรู้เกี่ยวกับพุทธศาสนาและประเพณีบางอย่าง![]() ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2515 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ขุนศึกษาการพิศิษฎ์ (พิศิษฎ์ หะวานนท์) ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 12 มิถุนายน พุทธศักราช 2515. มีรูปและประวัติผู้ตาย ความรู้เกี่ยวกับพุทธศาสนาและประเพณีบางอย่าง ได้รวมเรื่องต่าง ๆ ไว้ 7 เรื่อง ได้แก่ เรื่องพระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร ประวัติพระพุทธศาสนา ปาฐกถาเรื่องพระพุทธศาสนาในประเทศไทย ประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ ประเพณีทำบุญ ประเพณีบวชนาค และตำนานกฐิน |
สุบินคำกาพย์![]() ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2509 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ขุนอภิพัฒนภักดี (ตา เจริญยิ่ง) ณ เมรุวัดธาตุทอง พระโขนง วันที่ 11 ธันวาคม 2509 มีรูปและประวัติผู้ตาย เรื่องสุบินคำกาพย์นี้ มีเนื้อเรื่องเป็นนิทานคติธรรมสอนใจให้เห็นโทษของการทำบาป และเห็นคุณของการทำบุญ ชักจูงใจให้ประพฤติแต่ความดี |
พระประวัติ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช![]() ผู้แต่ง : สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2493 หมายเหตุ : ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ณ พระเมรุมาศท้องสนามหลวง วันที่ 29 มีนาคม พุทธศักราช 2493 เรื่องพระประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นเรื่องแสดงถึงบุคคลสำคัญผู้เกิดมาบำเพ็ญประโยชน์อันยิ่งใหญ่ให้แก่ประเทศชาติ เป็นหนังสือที่มีคุณค่าในทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของไทย |
มงคลสูตรคำฉันท์ ประมวลสุภาษิตพระราชนิพนธ์ และบทละครดึกดำบรรพ์ ชุด อรชุนกับทศกรรฐ์![]() ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2502 หมายเหตุ : พิมพ์แจกเป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ มหาเสวกโท พระยาราชสาส์นโสภณ (อาจ ชูโต) มีรูปและประวัติผู้ตาย เนื้อหาประกอบด้วยเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์ ประมวลโคลงกลอนสุภาษิต และบทโขนเรื่องพระอรชุนกับทศกัณฐ์ อันเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รวม 3 เรื่อง ในเล่มเดียวกัน |
นิทานคำกลอนเรื่องโคบุตร![]() ผู้แต่ง : สุนทรภู่ ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2514 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายชุน พรรณเชษฐ์ มีรูปและประวัติผู้ตาย นิทานคำกลอนเรื่องโคบุตร ประกอบด้วยเนื้อหา ทั้ง 14 ตอน ได้แก่ กำเนิดโคบุตร ราชปุโรหิตชิงบัลลังค์เมืองพาราณสี นางมณีสาคร และพระอรุณไปพบยักษ์ 4 ตน โคบุตรมาช่วย ชุบชีวิตท้าวพรหมทัตและพระมเหสี แล้วขอลาไปเที่ยวป่า และโคบุตรได้นางอำพันมาลาเป็นชายา เป็นต้น |
สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 32-38![]() ผู้แต่ง : สามก๊ก ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2512 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานบรรจุศพ นายเตียง และ นางหวาน จิราธิวัฒน์ ณ สุสานตำบลสุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี วันที่ 25 มกราคม พุทธศักราช 2512 มีรูปและประวัติผู้ตาย สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นหนังสือบันเทิงคดี ที่แปลมาจากภาษาจีน เป็นความเรียงที่มีความไพเราะงดงาม สละสลวย และได้รสทางวรรณคดีเป็นอย่างยิ่ง ในเล่มนี้จัดพิมพ์เนื้อหาเฉพาะตอนที่ 32-38 |
เมืองไทยจงตื่นเถิด และลัทธิเอาอย่าง![]() ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 7 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2513 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางพร้อม ขวัญบุญจันทร์ เรื่อง เมืองไทยจงตื่นเถิด และลัทธิเอาอย่าง เป็นบทความซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อพระราชทาน ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทย โดยใช้พระนามแฝงว่า “อัศวพาหุ” มีเนื้อหาเป็นบทปลุกใจคนไทยให้สำนึกในภัยของชนต่างชาติในประเทศไทย และให้คนไทยพยายามปรับตัวเพื่อให้เป็นประเทศพึ่งตัวเองและเลี้ยงตัวเอง ประกอบด้วยเรื่อง ความหลงอย่างไร ชาวต่างภาษา การที่เราอาศัยพวกจีน การที่เราต้องอาศัยต่างประเทศ วิธีที่จะแก้ไข กรณียกิจของเราต่อชาติ และเรื่องลัทธิเอาอย่าง |
มหานิบาตชาดก เรื่องที่ห้า มโหสธชาดก![]() แต่ง : ชาดก ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 4 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2510 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางหวัง อโนทัยวงศ์ มีรูปและประวัติผู้ตาย มหานิบาตชาดก เรื่องที่ห้า มโหสธชาดก เป็นเรื่องราวทั้งหมดของ มโหสธชาดกที่ 5 นับเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ทั้งในด้านพระศาสนาและด้านวรรณคดีเป็นอย่างมาก |
พระจุฬามณีเจดีย์ สัตว์ต่าง ๆ ในสวรรค์และอสูรพิภพทวีปทั้งสี่ กับ เรื่องสัตว์นรกและเปรตวิสัย![]() ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2509 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางกิมหยี หริตวร ณ เมรุวัดไตรมิตรวิทยาราม วันที่ 8 พฤษภาคม พุทธศักราช 2509. มีรูปและประวัติผู้ตาย พระจุฬามณีเจดีย์นี้ เป็นการรวบรวมมาจากหนังสือต่าง ๆ มาเรียงติดต่อกันให้เป็นระเบียบ โดย พระสาสนโสภณ เพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามพระราชประสงค์ นอกจากนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องเมืองสวรรค์ เมืองดาวดึงส์ เรื่องสัตว์ต่าง ๆในสวรรค์และอสูรพิภพ เรื่องทวีปทั้งสี่ อันประกอบด้วย ชมพูทวีป อมรโคยานทวีป อุตตรกุรุทวีป และบุพพวิเทหทวีป ในเล่มยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องเรื่องสัตว์นรกและเปรตวิสัยด้วย |
ประเพณีทำศพ![]() ผู้แต่ง : กรมศิลปากร ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 71 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2517 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางลำจวน อบเชย ณ เมรุวัดศรีประวัติ ตำบลปลายบาง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี วันที่ 31 มีนาคม พุทธศักราช 2517 มีรูปและประวัติผู้ตาย รวบรวมเนื้อหาของประเพณีทำศพ ของหอสมุดแห่งชาติ เรื่องน้ำนมแม่ โดยนายแพทย์ เสนอ อินทรสุขศรี เรื่องแรงศรัทธาของลูก โดย ส.ศิวาลัย เรื่องความเป็นมาของพระไตรปิฎก โดย ส.ศิวาลัย เรื่องพุทธทำนาย ของเก่า เรื่องควรวางจิตอย่างไรใกล้ตาย ของ แนบ มหานีรานนท์ เรื่องรำพึงถึงป่าช้า โดย พระยาอุปกิตศีลปสาร และเรื่องย่อความเกี่ยวกับตัณหา โดย พระทิพย์ปริญญา |
เรื่องเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมไทย![]() ผู้แต่ง : อิทธิเทพสรรค์ กฤดากร ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 4 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2511 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พันตำรวจโทมานิต อุทัยวรรณ์ และ พันตำรวจตรี สุเทพ สัมปัตตะวนิช ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 12 มิถุนายน พุทธศักราช 2511. มีรูปและประวัติผู้ตาย.
กล่าวถึงศิลปะแห่งการสร้างงานสถาปัตยกรรม
|
เรื่อง เมขลา-รามสูร![]() ผู้แต่ง : อนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ), 2431-2512. ฉบับพิมพ์ : -
สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2507 หมายเหตุ : พิมพ์แจกเป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นางสาวไขศรี ชิตินทร ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม 28 มิถุนายน 2507. มีรูปและประวัติผู้ตาย. เป็นเรื่องเล่าพร้อมทั้งข้อสันนิษฐานบางประการ คละเคล้ากัน เกี่ยวกับวรรณคดีเรื่องเมขลา-รามสูร |
ประวัติและโคลงกำศรวลศรีปราชญ์ พร้อมด้วยบันทึกสอบทานและหมายเหตุ![]() ผู้แต่ง : ธนิต อยู่โพธิ์ ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 3 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2511 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายเดือนลอย บุนนาค ณ เมรุ วัดธาตุทอง พระโขนง วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 มีรูปและประวัติผู้ตาย ประวัติและโคลงกำศรวลศรีปราชญ์ พร้อมด้วยบันทึกสอบทานและหมายเหตุ มีเนื้อหาประกอบด้วยประวัติของศรีปราชญ์ โคลงกำศรวลศรีปราชญ์ |
บทละครเรื่อง พญาราชวังสัน![]() ผู้แต่ง : มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2423-2468. ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 3 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2509 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางสนอง ตุลยพานิช ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร วันที่ 27 ตุลาคม 2509 มีรูปและประวัติผู้ตาย เป็นเนื้อหาของบทละครเรื่อง พญาราชวังสัน ตลอดทั้งเรื่องจนจบ |
เจ้าฟ้าธรรมธิเบศ พระประวัติ และ บทร้อยกรองบางเรื่อง![]() ผู้แต่ง : ธนิต อยู่โพธิ์ ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 3 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2512 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ นายกสิณ ทักษาดิพงศ์ ต.ช., ต.ม. ณ เมรุวัดมกุฎกษัติริยาราม วันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2512 มีรูปและประวัติผู้ตาย เป็นการรวบรวมบทพระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศ มารวมพิมพ์ไว้ในเล่มเดียวกัน ประกอบด้วย บทเห่เรือ บทเห่เรื่องกากี บทเห่สังวาส และเห่ครวญ กาพย์ห่อโคลง นิราศธารโศก กาพย์ห่อโคลง นิราศธารทองแดง และเพลงยาว |
ชุมนุมวรรณกรรมพระยาตรัง![]() ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : - สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2507 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางน้อม กรณีศรีสำรวจ ณ เมรุ วัดเทพศิรินทราวาส 28 พฤศจิกายน 2507 มีรูปและประวัติผู้ตาย มีเนื้อหาเป็นวรรณกรรมของพระยาตรัง รวม 4 เรื่อง คือ โคลงนิราศพระยาตรัง โคลงนิราศตามเสด็จทัพลำน้ำน้อย โคลงดั้นเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และ เพลงยาวพระยาตรัง |
โคลงรามเกียรติ์ (ภาค 2)![]() ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : - สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2496 หมายเหตุ : จอมพล ป. พิบูลสงคราม และ ท่านผู้หญิงละเมียด พิบูลสงคราม พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พลเอก พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ ณ พระเมรุวัดเบญจมบพิตร วันที่ 14 มิถุนายน พุทธศักราช 2496 มีรูปและพระประวัติผู้สิ้นพระชนม์ กล่าวถึงเป็นโคลงเรื่องรามเกียรติ์ จารึกอยู่ที่เสาพระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภาค 2 เริ่มตั้งแต่ห้องที่ 26 จนจบถึงห้องที่ 62 ประกอบด้วยโคลง 980 บท |
สุภาษิตอิศรญาณ สุภาษิตสอนเด็ก และ สุภาษิตสอนสตรี![]() ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : - สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2508 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายโอ้ สุนทรศารทูล ณ เมรุ วัดห้วยจระเข้ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม 3 กรกฎาคม 2508 มีรูปและประวัติผู้ตาย สุภาษิตอิศรญาณ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เพลงยาวเจ้าอิศรญาณ ประกอบด้วย เพลงยาวเจ้าอิศรญาณ และสุภาษิตสอนใจ สอนเด็ก สอนสตรี ที่มีความคมคาย |
สาวิตรี ความเรียง และ บทละครร้อง![]() ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉบับพิมพ์ : - สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2508 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายสมศักดิ์ ตามไท ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม 15 พฤศจิกายน 2508 มีรูปและประวัติผู้ตาย สาวิตรี เป็นเรื่องแสดงถึงอำนาจแห่งความรัก และความภักดีอันยิ่งใหญ่ที่ภริยามีต่อสามี ท้ายเล่มมีบทเพลงที่ใช้ร้อง |
ลิลิตพระลอ![]() ผู้แต่ง : กรมศิลปากร ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 10 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2510 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นาวาโท นายแพทย์สวน กมลนาวิน ร.น. ณ เมรุวัดประยุรวงศาวาส 20 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2510 มีรูปและประวัติผู้ตาย ลิลิตพระลอเล่มนี้ เป็นหนังสืออันมีค่าในทางวรรณคดี เนื้อหาประกอบด้วยร่ายและโคลง ของเรื่องลิลิตพระลอจนจบเรื่อง |
เรื่อง กรมพระราชวังหลัง![]() ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : - สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2509 หมายเหตุ : จัดพิมพ์เป็นบรรณาการในงานบำเพ็ญกุศล ฉลองอายุครบรอบ ๗๕ ปี บริบูรณ์ ของ พระปรีชาเฉลิม (ติลกะเถระ) (ม.ล.ยิ้ม ปาลกะวงศ์) ณ วัดเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนนทบุรี วันที่ 16 มีนาคม พุทธศักราช 2509 มีประวัติพระปรีชาเฉลิม (ม.ล. ยิ้ม ปาลกะวงศ์) และพระราชประวัติกรมพระราชวังหลัง ด้านพระกำเนิดและการศึกษา การสถาปนาเป็นกรมพระราชวังหลัง การราชการสงคราม เรื่องพระโอรสและพระธิดา และตอนท้ายมีภาคผนวกอธิบายถึงคำว่า กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข(กรมพระราชวังหลัง) และเรื่องการตั้งพระบรมวงศานุวงศ์ในรัชกาลที่ 1 ซึ่งคัดมาจากประชุมพงศาวดารภาคที่ 26 เรื่องตำนานวังเก่า |
ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 31 จดหมายเหตุเรื่องมิชชันนารีอเมริกันเข้ามาประเทศไทย![]() ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : - สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2493 หมายเหตุ : พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรี พระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น) ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2493 มีรูปและประวัติผู้ตาย เรื่องราวเกี่ยวกับความสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยกับประเทศสหรัฐอเมริกา เริ่มแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ตำราพระโอสถพระนารายณ์![]() ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : - สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2508 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายจอน ศุภลักษณ์ ณ เมรุ วัดแก้วฟ้าล่าง วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2508 มีรูปและประวัติผู้ตาย เป็นตำราพระโอสถตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต้นฉบับเป็นหนังสือลานผูก ๑ มีตำราพระโอสถที่หมอหลวงได้ประกอบถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราชหลายขนาน ได้แก่ ลักษณะเตโชธาตุออกจากกาย ยาแก้เตโชธาตุพิการ ยากแก้โรคไฟธาตุเย็น ยาแก้ลมป่วง ยาโลหิตกำเริบ ยาจำเริญพระธาตุ ชูพระกำลัง ยาแก้ขัดปัสสาวะ ฯลฯ |
นิราศพระยามหานุภาพ ไปเมืองจีน ครั้งธนบุรี ปีฉลู พ.ศ.2324![]() ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2503 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายฉลุมาศ อักษรมัต ณ เมรุ วัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 15 พฤศจิกายน 2503 นิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีน มีเนื้อหาทั้งทางวรรณคดีและประวัติศาสตร์การทูตสมัยกรุงธนบุรี กับพระเจ้ากรุงจีน |
บทละครพูด เรื่อง ไม่โกรธและเพื่อนตาย![]() ผู้แต่ง : มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2423-2468. ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2500 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางสาวกิ้มลี้ กรัยวิเชียร ณ เมรุวัดกลาง จังหวัดสมุทรปราการ วันที่ 24 มีนาคม 2500 ประกอบด้วยบทละครพูดพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 สองเรื่อง คือ เรื่องไม่โกรธ และเรื่องไม่ตาย บรรยายถึงฉากการแสดงละคร ออกเป็นชุด ๆ ตั้งแต่ชุดที่ 1 จนจบเรื่องทั้งสองเรื่อง |
การละเล่นของไทย![]() ผู้แต่ง : มนตรี ตราโมท ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2518 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ นายนพ บุณยเกียรติ ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร วันที่ 19 มีนาคม พุทธศักราช 2518 เป็นการรวบรวมศิลปะการแสดงต่าง ๆ ของไทยตามลักษณะของแต่ล่ะท้องถิ่น ได้แก่ ละคร หุ่นละครเล็ก เสภาทรงเครื่อง เพลงพื้นเมือง ลิเก ลำตัด การแสดงเบญจพรรณ ละครร้อง สวดคฤหัสถ์ และหนังใหญ่ ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เคยนำออกมาแสดง ณ สังคีตศาลา สถานที่จัดแสดงดนตรีและศิลปะการแสดงด้านต่าง ๆ ของ กรมศิลปากร
|
มอญที่เกี่ยวกับไทย![]() ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 6 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2512 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงชุติมา สุริยสัตย์ จ.จ. เนื้อหาในเล่มกล่าวถึงเรื่องมอญที่เกี่ยวกับไทย ซึ่งคัดจากประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 1 ประกอบด้วยเรื่อง พระนเรศวรหงสา เรื่องมะกะโท เรื่องไทยได้พระธรรมศาสตร์มาจากมอญ เรื่องกรุงศรีอยุธยาแต่งข้าราชการให้นำเครื่องสักการะไปบูชาพระมาลีเจดีย์ เมืองหงสาวดี เรื่องพระยาเกียรติ พระยาพระราม สวามิภักดิ์ในรัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช เรื่องครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นตัวประกันอยู่เมืองหงสาวดี เรื่องลงโทษรามัญและปราบเมืองหงสาวดี ครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พ.ศ. 2136 เรื่องเมืองเมาะลำเลิงสวามิภักดิ์และเรื่องปกครองหัวเมืองมอญ ในรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เรื่องมอญเมืองเมาะตะมะเข้ามาสวามิภักดิ์ ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ เรื่องมอญใหม่กบฎ เรื่องรามัญอพยพมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารครั้งกรุงธนบุรี เรื่องมอญอพยพครอบครัวเข้ามาพึ่งพระบารมีในรัชกาลที่ 2 กรุงรัตนโกสินทร์ เป็นต้น
|
สงครามสืบราชสมบัติโปลันด์และประมวลบทพระราชนิพนธ์ภาคปกิณกะ![]() ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2509 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายบุญส่ง บรรจงโพธิกลาง และฌาปนกิจศพ นายสุรชัย บรรจงโพธิกลาง เนื้อหากล่าวถึงเครือลำดับวงศ์กษัตริย์สืบราชสมบัติโปลันด์ การเลือกพระราชาธิบดีโปลันด์ เรื่องล้อมเมืองดันซิค เรื่องเสปญปราบราชอาณาจักรสิซิลีทั้งสอง เรื่องการยุทธ์ในลุ่มแม่น้ำไรน์ นอกจากนี้ยังรวมบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แก่ เรื่องโคลนติดล้อ ความเข้าใจผิด มะพร้าวตกตื่น และเรื่องอื่น ๆ ไว้ด้วย
|
ประชุมนิทานพระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 6 (นิทานทองอิน ภาคที่ 2)![]() ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2506 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ อำมาตย์ตรี พระธราธรพิทักษ์ (อั๋น กนิษฐะเสน) เนื้อหาในเล่มกล่าวถึงนิทานทองอิน ภาคที่ 2 ประกอบด้วยเรื่อง ผู้ร้ายฆ่าคนที่บางขุนพรหม นายจรูญเศรษฐี ระเด่นลันได และเรื่องสร้อยคอร้อยชั่ง |
จดหมายเหตุการเดินทางของราล์ฟ ฟิตช และจดหมายเหตุของวิละภาเคทะระ เรื่องคณะฑูตลังกาเข้ามาประเทศสยาม![]() ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2508 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางทองอยู่ วีระเวศม์เลขา (สามสูตร) จดหมายเหตุการเดินทางของราล์ฟ ฟิตช นับเป็นบันทึกการเดินทางของชาวอังกฤษรุ่นแรกที่ได้มีโอกาสเข้ามาพบเห็นสภาพบ้านเมืองตลอดจนเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทางเอเชียอาคเนย์ ราล์ฟฟิตช ได้เขียนข้อความพรรณาถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เขาได้พบเห็นอย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสภาพภูมิประเทศ ขนบธรรมเนียม ประเพณีของชนชาติต่าง ๆ ตลอดจนสินค้าพื้นเมืองของประเทศตะวันออก ส่วนจดหมายเหตุของวิละภาเคทะระ เรื่องคณะฑูตลังกามาประเทศสยามนั้น เป็นตอนที่พระเจ้าเกียรติศิริราชสิงค์ได้แต่งราชฑูตเชิญพระราชสาส์น เครื่องราชบรรณาการเข้ามาขอพระสงฆ์ไทยให้ออกไปอุปสมบทแก่ชาวลังกา เมื่อ พ.ศ. 2293
|
ตำนานวัตถุสถานต่าง ๆ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนา![]() ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2511 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางสาวนภา วังส์ไพจิตร เนื้อหากล่าวถึงมูลเหตุแห่งการสร้างวัตถุสถานต่าง ๆ ในกรุงรัตนโกสินทร์ วัตถุสถานสำหรับบำรุงพระศาสนา พระอารามทรงสร้างขึ้นใหม่ พระอารามทรงบูรณะ วัดที่ทรงอุปการและปฏิสังขรณ์ ทรงสร้างพุทธเจดีย์ และวัตถุสถานที่ทรงสร้างเฉลิมพระราชอิสริยยศ
|
พงศาวดาร มอญ พม่า คัดจากประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 1 |
ปาฐกถาเรื่องสงวนรักษาของโบราณ จดหมายเหตุเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ครั้งรัชกาลที่ 3 และการซ่อมภาพผนังเรื่องรามเกียรติ์ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในการสมโภชพระนครครบร้อยปี พ.ศ. 2425![]() ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 4 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2516 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเล็ก ณ สงขลา จ.ช., จ.ม. เนื้อหาในเล่มกล่าวถึงความรู้ทางด้านโบราณคดีเกี่ยวกับการตรวจค้นและการสงวนรักษาโบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ ในประเทศไทย รวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในสมัยรัชกาลที่ 3 ท้ายเล่มให้รายละเอียดเรื่องการบูรณะจิตรกรรมฝาผนังที่พระระเบียงคด วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในตอนท้ายกล่าวถึงหลักการบูรณะโบราณสถานกับทัศนะต่างประเทศว่าด้วยการสงวนรักษาของโบราณในประเทศไทย และประเทศภาคพื้นเอเชีย
|
นางนพมาศหรือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์![]() ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 13 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2508 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นางสะลูไร ตุลยายน เนื้อหาในตอนต้นกล่าวถึงเรื่องมนุษยชาติ ต่อมากล่าวถึงประวัติของนพมาศ ซึ่งบิดามารดาได้นำนางนพมาศถวายทำราชการในสมเด็จพระร่วงเจ้า ได้เป็นพระสนมเอกตำแหน่งท้าวศรีจุฬาลักษณ์ และมีการพรรณนาถึงหน้าที่ข้าราชการฝ่ายใน ตลอดจนแบบวิถี 12 เดือน ซึ่งเป็นราชประเพณีในครั้งกรุงสุโขทัย |
ประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ![]() ผู้แต่ง : เสฐียรโกเศศ ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2505 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ ขุนคลองเตยบริบาล (เสริม เข็มขจร) เนื้อหากล่าวถึงประเพณีการทำบุญของไทย ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับ วันมงคลและวังอวมงคล การตกแต่งสถานที่และจัดอาสนสงฆ์ การตั้งที่สักการะบูชา การจับด้ายสายสิญจน์ วิจารณ์เรื่องด้ายสายสิญจน์ การสวดมนต์เย็น วิจารณ์เรื่องการหยดเทียน เรื่องพระปริต เรื่องเลี้ยงพระ และวิจารณืเรื่องการกรวดน้ำ
|
โคลงโลกนิติ![]() ผู้แต่ง : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2512 หมายเหตุ : พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระนนทปัญญา (โต มกรานนท์) โคลงโลกนิติเป็นสุภาษิตเก่าแก่ แต่งมาตั้งแต่โบราณครั้งกรุงเก่า ซึ่งนำมาจากคาถาสุภาษิตภาษาบาลี ภาาาสันสกฤต ที่มีอยู่ในคัมภีร์ต่าง ๆ คือ คัมภีร์ คือ คัมภีร์โลกนิติ คัมภีร์โลกนัยบ้าง ตลอดจนคัมภีร์พระธรรมบท โดยเลือกคาถาสุภาษิตเหล่านั้นมาตั้ง แล้วแปลแต่งเป็นคำโคลงไปทุก ๆ คาถา รวมเป็นเรื่องเรียกว่าโคลงโลกนิติ เป็นสุภาษิตที่นับถือกันมาช้านาน |
ประมวลพระบรมราชาธิบายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สยาม และชาติพันธุ์วิทยาว่าด้วยชนชาติเผ่าต่าง ๆ ในประเทศไทย![]() ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 6 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2515 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นาวาตรี ขุนฤทธิไกรรณการ ต.ม., จ.ช. เนื้อหาในเล่มประกอบด้วยเรื่องประมวลพระบรมราชาธิบายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สยาม และชาติพันธุ์วิทยาว่าด้วยชนชาติเผ่าต่าง ๆ ในประเทศไทย สำหรับเรื่องประมวลพระบรมราชาธิบายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สยามนั้น กล่าวถึงเรื่องพระร่วงตามตำนานและโดยสันนิษฐานโบราณคดี เรื่องไว้ผมของคนไทย เรื่องสำเภาทองลอยพระธาตุ เรื่องบ้านโคนในจังหวัดกำแพงเพชร เรื่องหลักศิลาขอมดำดิน เรื่องเมืองสวรรคโลก เรื่องเมืองเชลียง เรื่องวัดจุฬามณี เรื่องทุ่งแย้ และเรื่องท้าวแสนปม ส่วนเรื่องชาติพันธุ์วิทยาว่าด้วยชนชาติเผ่าต่าง ๆ ในประเทศไทยนั้น กล่าวถึงชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทย ได้แก่ นิกริโต พวกอินโดเนเซียน มอญ-เขมร ญวน ตระกูลธิเบต-พม่า ชาวไทย เผ่าจีน และผีตองเหลืองหรือยุมบุรี
|
อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ 7 จังหวัด คือ นราธิวาส ปัตตานี พัทลุง ยะลา สงขลา สตูล สุราษฎร์ธานี![]() ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2481 หมายเหตุ : พิมพ์แจกในงานฌาปนกิจศพ แส กนิษฐดิษ เนื้อหาของอักขรานุกรมภูมิศาสตร์ เล่มนี้ ครอบคลุมเนื้อหา 7 จังหวัดภาคใต้ เป็นลักษณะอักขรานุกรมภูมิศาสตร์เฉพาะจังหวัด ประกอบไปด้วยจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี พัทลุง ยะลา สงขลา สตูล และสุราษฎร์ธานี
|
ละครพูดเรื่องกลแตก![]() ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2510 หมายเหตุ : คณะกรรมกาาอำนวยการราชตฤณมัยสมาคมฯ พิมพ์เป็นบรรณาการในงานพระราชทานเพลิงศพ พลออก, พลเรือเอกเจ้าพระยารามราฆพ เนื้อหากล่าวถึงบทละครพูดเรื่องกลแตก ซึ่งเป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์เสร็จเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2462 ทรงใช้นามแฝงว่า “ศรีอยุธยา” เป็นละคอนพูด 4 องก์จบ และคณะละคอนศรีอยุธยาได้แสดง
|
โคลนติดล้อ![]() ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 5 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2517 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางฉลวย สมบูรณ์ เนื้อหากล่าวถึงบทพระราชนิพนธ์เรื่องโคลนติดล้อ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า "อัศวพาหุ" บทความในเรื่องมีทั้งหมด 12 บท ซึ่งกล่าวถึงข้อบกพร่องของคนไทยที่เปรียบเทียบเป็นโคลนติดล้อหรือปัญหาที่ทำให้ประเทศชาติก้าวไปสู่ความเจริญได้ช้าลง โดยมีพระราชประสงค์ คือ เพื่อปลุกใจให้คนไทยรักชาติ รักความเป็นไทย ชี้ให้คนไทยเห็นข้อบกพร่องของตนเองที่ทำให้ประเทศไทยเจริญก้าวหน้าช้าลง |
เรื่องพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี![]() ผู้แต่ง : หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2492 หมายเหตุ : สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุทฺธสรเถร) พิมพ์เป็นของชำร่วยแก่ผู้มีศรัทธาบริจาคทรัพย์บำรุงพระพุทธบาท เนื้อหากล่าวถึงเรื่องพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 ตอน ได้แก่ ความหมายของรอยพระพุทธบาท ตำนานพระพุทธบาทตามนัยพระบาลีในปุณโณวาทะสูตร์ ตำนานพระพุทธบาทตามหนังสือพระราชพงศาวดาร และความรู้เบ็ดเตล็ดเรื่องพระพุทธบาท
|
บทละคอนเรื่องพระลอนรลักษณ์และบทละคอนเรื่องพระลอ |
ลำดับราชินิกุลบางช้าง![]() ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2501 หมายเหตุ : อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ร.ต.อ.ขุนวารินทรสัญจร (ขาว ณ บางช้าง) เนื้อหากล่าวถึงความหมายของราชินิกุล ลำดับราชินิกุลบางช้าง ลำดับราชินิกุลบางช้างสายตรง ลำดับราชินิกุลบางช้างสายสาขา ราชินิกุลสาขาสายชิด (ราชินิกุลฝ่ายพระชนก) ราชินิกุลสาขาสายห่าง (ราชินิกุลฝ่ายพระชนก) ลำดับราชินิกุลฝ่ายพระชนนี ราชินิกุลฝ่ายพระชนนีสายชิด และราชินิกุลฝ่ายพระชนนีสายห่าง
|
ยุทธภัยและความเป็นชาติโดยแท้จริง![]() ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 3 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2517 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางฉลวย สมบูรณ์ ยุทธภัยและความเป็นชาติโดยแท้จริง เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่เป็นบทปลุกใจให้คนไทยมีความรักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เป็นบทความที่ตีพิมพ์ในระหว่าง พ.ศ. 2457-2461 ซึ่งอยู่ระหว่างช่วงมหาสงครามโลกครั้งที่ 1
|
เทศนาเสือป่า 17 กัณฑ์![]() ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2504 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ร.ต.ท.ขุนจิตต์จรูญ (จิตต์ จารุภัตติ์) รวบรวมเเนื้อหาของเทศนาเสือป่า จำนวน 17 กัณฑ์ ได้แก่ กัณฑ์ที่ 1 ความจำเป็นที่จะมีศาสนา กัณฑ์ที่ 2 กำเนิดแห่งศาสนา กัณฑ์ที่ 3 ศาสนาพราหมณ์ กัณฑ์ที่ 4 ศาสนายิวกับศาสนาคริสตัง กัณฑ์ที่ 5 ความภักดีต่อศาสนา กัณฑ์ที่ 6 ปาฏิหาริย์ กัณฑ์ที่ 7 ศาสนาเป็นของสำหรับชาติ กัณฑ์ที่ 8 ประวัติการแห่งพระพุทธศาสนา กัณฑ์ที่ 9 ความประพฤติแห่งพุทธศาสนา กัณฑ์ที่ 10 การอุปสมบท กัณฑ์ที่ 11 พระไตรสรณคมณ์ กัณฑ์ที่ 12 ประโยชน์แห่งการอยู่ในธรรม กัณฑ์ที่ 13 หลักแห่งความประพฤติชอบ กัณฑ์ที่ 14 ปฐมสิกขาบท กัณฑ์ที่ 15 ทุติยสิกขาบท กัณฑ์ที่ 16 ตติยะ, จตุตถ, และเบญจมะสิกขาบท และกัณฑ์ที่ 17 จตุภริยสัจจ์ ในตอนท้ายมีเนื้อหาของมงคลสูตรและกาลามสูตรรวมอยู่ด้วย |
ธรรมจักร![]() ผู้แต่ง : ธนิต อยู่โพธิ์ ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2508 หมายเหตุ : กรมศิลปากร พิมพ์ถวายพระภิกษุและสสามเณร ซึ่งเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในเทศกาลเข้าพรรษา พ.ศ. 2508 เนื้อหาในเล่มกล่าวถึงธรรมจักร ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้สื่อในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และธรรมจักรที่ค้นพบในพื้นที่ต่าง ๆ ในประเทศไทย พร้อมคำอธิบายประกอบหลักธรรมจักรแต่ละหลัก
|
พรหมสี่หน้า![]() ผู้แต่ง : ธนิต อยู่โพธิ์ ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2509 หมายเหตุ : กรมศิลปากร พิมพ์ถวายพระภิกษุและสามเณร ซึ่งเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในเทศกาลเข้าพรรษา พ.ศ. 2509 เนื้อหาในเล่มกล่าวถึงเรื่องพระพรหมสี่หน้า ซึ่งเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา และมีเนื้อหาเกี่ยวกับรูปเขียน รูปปั้น รูปหล่อ รูปแกะสลัก ของพระพรหมที่พบในประเทศไทย
|
เรื่องตู้ลายรดน้ำ![]() ผู้แต่ง : ศิลป พีระศรี ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2503 หมายเหตุ : กรมศิลปากรจัดพิมพ์ถวายพระภิกษุและสามเณร ซึ่งเข้ามาชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ในเทศกาลเข้าพรรษา พ.ศ. 2503 มีเนื้อเกี่ยวกับลายรดน้ำ ซึ่งเป็นงานศิลปะชั้นสูงในสมัยกรุงศรีอยุธยาที่ใช้สำหรับตกแต่งเครื่องใช้ในพระศาสนา และสิ่งของเครื่องใช้ของชาวบ้าน
|
ประวัติวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร![]() ผู้แต่ง : กรมศิลปากร ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2519 หมายเหตุ : กรมศิลปากรพิมพ์เผยแพร่ในงานกฐินพระราชทาน ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม พุทธศักราช 2519 เป็นหนังสือที่จัดทำขึ้นในโอกาสงานกฐินพระราชทาน ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ซึ่งเป็นปูชนียสถานที่สำคัญของภาคใต้ โดยเฉพาะองค์พระบรมธาตุเจดีย์ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และมีเนื้อหาเกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างอื่นในวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม และศิลปกรรม เช่น วิหารพระทรงม้า วิหารเขียน วิหารโพธิ์ลังกา วิหารสามจอม พระวิหารทับเกษตร วิหารคด เจดีย์รอบองค์พระธาตุ พระวิหารหลวง พระพุทธบาทจำลอง และประตูเยาวราช เป็นต้น นอกจากนี้ยังกล่าวถึงเรื่องพระมหากษัตริย์กับวัด พระมหาธาตุวรมหาวิหาร การปกครองและการศึกษาภายในวัด และลำดับเจ้าอาวาสของวัดไว้ด้วย |
โคลงเรื่องพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5![]() ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2553 หมายเหตุ : - เนื้อหาในเล่มประกอบด้วยเรื่องเมื่อข้าพเจ้าจากสยามมาสู่สวิทเซอร์แลนด์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และโคลงเรื่องพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 นั้น ประกอบด้วยเรื่องโคลงพิธีถือน้ำแลคเชนทรัสวสนาน และโคลงพระราชพิธีแห่โสกันต์
|
หนังสือที่ระลึกพิธีประดิษฐานและสมโภชพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช![]() ผู้แต่ง : กองทัพภาคที่ 4 ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : นครศรีธรรมราช สำนักพิมพ์ : กองทัพภาคที่ 4 ปีที่พิมพ์ : 2548 หมายเหตุ : - นำเสนอเรื่องราวข้อมูลประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทั้งในส่วนของพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ เนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์บอกเล่าที่เกี่ยวเนื่องกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและเมืองนครศรีธรรมราช เก๋งจีนสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และมีเนื้อหาของกองทัพภาคที่ 4 รวมอยู่ด้วย |
ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 50 เรื่อง ตำนานเมืองระนอง![]() ผู้แต่ง : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทย ปีที่พิมพ์ : 2474 หมายเหตุ : มหาอำมาตย์ตรี พระยาประดิพัทธภูบาล (คอยู่เหล ณ ระนอง) พิมพ์แจกในงานยืนชิงช้า พ.ศ. 2474 บรรยายถึงตำนานเมืองระนองในสมัยโบราณ อาชีพราษฎรและการตั้งเจ้าภาษีแร่ดีบุก การยกเมืองระนองขึ้นเป็นเมืองจัตวา วิธีการปกครองหัวเมืองในสมัยนั้น ภาษีผลประโยชน์และการประมูลภาษี การตั้งข้าหลวงตรวจรับส่งเงินหลวง การรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมทั้งสำเนาตราตั้งผู้ปกครองเมืองระนอง และลำดับวงศ์สกุล ณ ระนอง |
กฎมนเทียรบาลพะม่า นับเป็นลัทธิธรรมเนียม ภาคที่ 26![]() ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์ ปีที่พิมพ์ : 2479 หมายเหตุ : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ โปรดให้ตีพิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าตระนักนิธิผล ไชยันต์ กล่าวถึงราชประเพณีของพม่า ได้แก่ พิธีบรมราชาภิเษกราชกุมารศักดิ์ พระราชานุกิจ ขนบธรรมเนียมในราชสำนัก ราชบัลลังก์ พิธี 12 เดือน พิธีปลงพระบรมศพ |
ที่ระลึกงานเดือนสิบ จังหวัดนครศรีธรรมราช 2504 |
ปาฐกถาสงเคราะห์เรื่องมหาวาตภัย |
นามพระที่นั่ง นามประตู แลป้อม![]() ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงเรียนมหาดเล็ก ปีที่พิมพ์ : 2448 หมายเหตุ : - รายชื่อนามพระนั่งในพระบรมมหาราชวัง และต่างจังหวัด รายชื่อนามประตูรอบพระบรมมหาราชวังและพระบรมราชวัง รายชื่อป้อมรอบกำแพงพระบรมมหาราชวัง ป้อมตามกำแพงพระนครชั้นนอก ตามลำน้ำเจ้าพระยาในเขตเมืองสมุทรปราการ |
เล่าเรื่องในไตรภูมิ![]() ผู้แต่ง : เสฐียรโกเศศ ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : จงเจริญการพิมพ์ ปีที่พิมพ์ : 2518 หมายเหตุ : - หนังสือเล่าเรื่องไตรภูมิของเสฐียร เรียบเรียงมาจากหนังสือไตรภูมิพระร่วง โดยเขียนให้อ่านเข้าใจง่ายขึ้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับนรก สวรรค์ กล่าวเริ่มต้นด้วยเรื่องเมืองนรก ตอนที่ 2 เรื่องติรัจฉานภูมิ เปตภูมิ หรือแดนแห่งเปรต อสูรกายภูมิ มนุษยภูมิ และสวรรคภูมิ |
อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ อาจารย์อนิรุทธิ์ พันธุ์พิทย์แพทย์ |
ไหว้พระธาตุ ไหว้สัสดีใหญ่ ไหว้อาลักษณ์ |
ลำดับสกุลเก่า บางสกุล ภาค 4 สกุลเชื้อสายพระราชวงศ์กรุงธนบุรี (ฉะบับร่าง) |
ข่าวตอนต้นรัชชกาลที่ 3 ตามรายงานราชการอังกฤษ![]() ผู้แต่ง : กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร ปีที่พิมพ์ : 2475 หมายเหตุ : พิมพ์ในงานทรงบำเพ็ญพระราชกุศลหน้าพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ครบ 7 วัน กล่าวถึงสำเนาจดหมาย 2 ฉบับ คือ สำเนาจดหมายมิศเตอรกีลลีซ์ และสำเนาคำแปลจดหมายพระคลัง หรือเสนาบดีว่าการต่างประเทศ เป็นการรายงานข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์ของประเทศไทยในขณะนั้น
|
เรื่องของชาติไทย![]() ผู้แต่ง : พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ไทยเขษม ปีที่พิมพ์ : 2483 หมายเหตุ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพิมพ์แจกในงานกฐินพระราชทาน ณ วัดปทุมวนาราม กล่าวถึงอาณาจักรไทยเดิมในภาคต่าง ๆ ของประเทศจีน ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรไทยกับจัน การตั้งถิ่นฐานในแหลมอินโดจีน ลานนาไทย และสิ้นสุดลงเมื่อพม่าเข้ามามีอำนาจในการปกครองลานนาไทย
|
ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 52 จดหมายเหตุเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต![]() ผู้แต่ง : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร ปีที่พิมพ์ : 2472 หมายเหตุ : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในงานศพ สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 52 จดหมายเหตุเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตพระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ บรรยายเหตุการณ์เมื่อรัชกาลที่ 4 เริ่มตั้งแต่เสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคา ที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เหตุการณ์ขณะทรงประชวร พระราชกระแสดำรัสเรื่องสืบราชสมบัติและเหตุการณ์อื่น ๆ ก่อนและหลังสวรรคต การปรึกษาถวายราชสมบัติ จนถึงการประดิษบานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
|
ประมวลหลักฐานสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (คือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) ภาค 1![]() ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย ปีที่พิมพ์ : 2481 หมายเหตุ : - เนื้อหามี 2 เรื่อง คือ บทเฉลิมพระเกียรติสรรเสริญสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งรวบรวมมาจากที่ต่าง ๆ เรื่องที่ 2 คือ แผ่นดินสยามครั้งกรุงธนบุรี แสดงถึงแผ่นดินอาณาเขตของไทยที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงกอบกู้และก่อสร้างไว้ให้แก่ชาติไทยในครั้งนั้น |
ประวัติสุนทรภู่![]() ผู้แต่ง : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์อักษรนิติ ปีที่พิมพ์ : 2470 หมายเหตุ : พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ มหาเสวกตรี พระยาสิทธิโชคชุมนุม (อ้น สิทธิสุข) กล่าวถึงประวัติของสุนทรภู่ ฝ่ายพระบรมราชวังในรัชกาลที่ 4 ตั้งแต่เกิดเมื่อ พ.ศ. 2329 จนกระทั่งถึงแก่กรรมในรัชกาลที่ 4 รวมทั้งผลงานและบทประพันธ์ของสุนทรภู่ด้วย |
พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระเจ้าลูกยาเธอ พระราชปรารภในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าด้วยเรื่องทาสและเกษียณอายุกับสำเนากระแสพระบรมราชโองการ พระราชบัญญัติ พระราชดำรัส พระราชหัตถเลขา และประกาศการศึกษามรสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว![]() ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย ปีที่พิมพ์ : 2509 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ คุณแม่เอม หิมะทองคำ พระบรมราโชวาททรงมีพระราชทานแก่พระเจ้าลูกยาเธอ โอกาสเสด็จออกไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ เมื่อ พ.ศ. 2428 ให้ทรงประพฤติที่ทรงสั่งสอนไว้ แล้วยังได้พระราชปรารภว่าด้วยเรื่องทาสและเกษียณอายุ |
คำปราสัยของพนะท่าน ปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเหร็ดราชการแทนพระองค์![]() ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พานิชศุภผล ปีที่พิมพ์ : 2487 หมายเหตุ : - คำปราศรัยของนายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนองค์พระมหากษัตริย์กล่าวต่อนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ในวันที่ 8 สิงหาคม 2487 ในโอกาสที่นายกรัฐมนตรี (นายควง อภัยวงศ์) และคณะรัฐมนตรีได้เข้าถวายบังคมพระบรมรูป ถวายสักการะต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในขณะนั้น |
ลำดับสกุลเก่า บางสกุล ภาคที่ 2![]() ผู้แต่ง : พระยารัตนกุลอดุลยภักดี (จำรัส รัตนกุล) ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร ปีที่พิมพ์ : 2465 หมายเหตุ : พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยารัตนกุลอดุลยภักดี (จำรัส รัตนกุล) กล่าวถึงลำดับสกุลไกรฤกษ์ วัชรกุล สกุลท่านขรัวทอง (ภมรสูต) และอมาตยกุล |
ประชุมพงษาวดาร ภาคที่ 2![]() ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ไทย ปีที่พิมพ์ : 2457 หมายเหตุ : พิมพ์พระราชทานในงานศพ ฟักทอง ราชินีกุล รวบรวมเอกสารเกี่ยวกับการตั้งเจ้าพระยานครศรีธรรมราชตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ แสดงให้เห็นเหตุการณ์ในทางประวัติศาสตร์และแบบแผนประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติในสมัยก่อน และกล่าวถึงพงศาวดารเมืองถลาง ไทรบุรี ตรังกานู และกลันตัน ให้รายละเอียดเกี่ยวกับด้านการปกครอง ประเพณีวัฒนธรรม สภาพความเป็นอยู่ และเหตุการณ์สำคัญ ความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับไทย |
เกร็ดความรู้เรื่องดนตรีไทย![]() ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์อำพลวิทยา ปีที่พิมพ์ : 2509 หมายเหตุ : หนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายพิษณุ แช่มบาง รวบรวมความรู้เบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับเรื่องดนตรีของไทย ได้แก่ ลักษณะเพลงไทย ลักษณะวงดนตรีไทย เพลงโหมโรง ปี่พาทย์ประกอบเทศน์มหาชาติ เพลงเรื่องทำขวัญ อธิบายเพลงเขมรไทรโยค 3 ชั้น อธิบายเพลงโสมส่องแสงเถา รำหน้าพาทย์ และประเพณีและพิธีไหว้ครู |
เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเมืองญวณและเมืองเขมรในรัชกาลที่ 2![]() ผู้แต่ง : สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ตีรณสาร ปีที่พิมพ์ : 2494 หมายเหตุ : พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงอภัยสงคราม (รัมภา โชติดิลก) ตอนต้นกล่าวถึงประวัติคุณหญิงอภัยสงครามโดยสรุป และเหตุการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยกับเขมร และเวียดนามหรือญวน นับแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีเรื่องที่น่าสนใจ เช่น เรื่องพม่าชวนญวนตีเมืองไทย ในปี พ.ศ. 2366 เรื่องพระเจ้ายาลอง (องค์เชียงสือ) สิ้นพระชนม์ เรื่องเขมรตีเมืองพัตบองจากไทย เป็นต้น |
นิราศเมืองเพชร![]() ผู้แต่ง : สุนทรภู่ ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม ปีที่พิมพ์ : 2505 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเล็ก จินดาสิริ ณ เมรุวัดพลับพลาชัย จังหวัดเพชรบุรี ตอนต้นกล่าวถึงประวัติของสุนทรภู่และประวัตินายเล็ก จินดาสิริ จากนั้นจึงเป็นเนื้อความของนิราศเมืองเพชรที่สุนทรภู่แต่งขึ้นเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งให้สุนทรภู่เดินทางไปเมืองเพชรบุรี |
สาส์นสมเด็จ ลายพระหัตถ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ภาค 43)![]() ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2501 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ มหาอำมาตย์ตรี พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ (หม่อมราชวงศ์ ประยูร อิศรศักดิ์) ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส 2 เมษายน 2501 หนังสือสาส์นสมเด็จนี้ เป็นลายพระหัตถ์สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์กับสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงมีโต้ตอบกันในบั้นปลายแห่งพระชนมชีพ เมื่อทรงวางภาระทางราชการงานเมืองและทรงพักผ่อนอย่างเงียบๆ เนื้อหากล่าถึงแขนงวิชาศิลป วรรณคดี และการปกครอง |
มหรสพของไทย![]() ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2526 หมายเหตุ : จัดพิมพ์เนื่องในโอกาส วันเด็กแห่งชาติ 2526 วันที่ 8 มกราคม พุทธศักราช 2526 ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับมหรสพไทย นาฏศิลป์ไทยแขนงต่าง ๆ ได้แก่ โขน ละครนอก ละครใน ละครพันทาง ลิเก หนังใหญ่ ฟ้อนเล็บ ซอ หนังตะลุง รองเง็ง มะโย่ง กลองยาวรำภูไท และการแสดงอื่น ๆ ที่เป็นวัฒนธรรมทางศิลปะการแสดงประจำถิ่น ซึ่งมีลักษณะรูปแบบคล้ายคลึงหรือแตกต่างกันไปตามลักษณะนิสัย ภูมิประเทศ และวัฒนธรรมประจำถิ่น เป็นต้น |
ไม้แกะสลัก![]()
ผู้แต่ง : อ่ำ ศรีสัมพุทธ
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2532
หมายเหตุ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินครศรีธรรมราช จัดพิมพ์เผยแพร่เนื่องในสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย ปี 2532
รวบรวมผลงานของนายอ่ำ ศรีสัมพุทธ ศิลปินแห่งชาติผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขาฝีมือการช่างของจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่นำมาจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินครศรีธรรมราช เพื่อเป็นแหล่งหาความรู้ของประชาชน
|
ข้อแนะนำเกี่ยวกับโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ![]()
ผู้แต่ง : บรรจบ เทียมทัด
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2517
หมายเหตุ : พิมพ์ถวายพระภิกษุสามเณรซึ่งเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครในเทศกาลเข้าพรรษา พ.ศ. 2517
หนังสือเรื่องข้อแนะนำเกี่ยวกับโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กฎบัตรสากลแห่งเมืองเวนิช เพื่อการสงวนรักษาและบูรณะอนุสาวรีย์และโบราณสถาน เขียนขึ้นเพื่อเป็นแนวปฏิบัติในงานโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
|
The Royal Monasteries and Their significance |
ประชุมนิพนธ์เบ็ดเตล็ด (บางเรื่อง) ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ![]()
ผู้แต่ง : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2509
หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายพัฒน วงษ์ขจร
พระนิพนธ์เบ็ดเตล็ดเล่มนี้รวบรวมสาระความรู้ทั้งในด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี การปกครอง การศาสนา และอื่นๆ มีทั้งสิ้น 55 เรื่อง
|
ทองคำที่ใช้ในการบูรณะปฏิสังขรณ์ปลียอดทองคำ พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่าง พ.ศ. 2537 - 2538![]() ผู้แต่ง : กรมศิลปากร ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2547 หมายเหตุ : - รวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับองค์พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช ทั้งข้อมูลสถานที่ตั้ง ลักษณะขององค์พระบรมธาตุ สิ่งสำคัญในวัดพระธาตุวรมหาวิหาร การบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารและองค์พระบรมธาตุเจดย์ การซ่อมบูรณะกลีบบัวทองคำ (บัวกาบปลี) องค์พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช ใน พ.ศ. 2530 และ พ.ศ. 2537 - 2538 รวมถึงเรื่องของทองคำที่ใช้ในการบูรณะปฏิสังขรณ์ปลียอดทองคำพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช |
การบูรณะปลียอดทองคำ พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช สิ้นสุดครึ่งแรกตามแผนงาน![]() ผู้แต่ง : นพวัฒน์ สมพื้น ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2537 หมายเหตุ : -
|
การบูรณะปลียอดทองคำพระบรมธาตุเจดีย์![]() ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : ม.ป.ป. หมายเหตุ : -
|
รายงานสรุปการสำรวจและล้างทำความสะอาด กลีบบัวทองคำ พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช |
ประวัติการสร้างพระบรมธาตุเจดีย์และการบูรณะฯ โดยสังเขป |
จินดามณี![]() ผู้แต่ง : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 2 กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2503 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรี หม่อมสนิทวงศ์เสนี ป.ม., ท.จ.ว.
|
ตำนานเรื่องสามก๊ก![]() ผู้แต่ง : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2507 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายนาถ สิงหศักดิ์
|
เล่าเรื่องไปสุมาตรา![]() ผู้แต่ง : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชนุภาพ ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2507 หมายเหตุ : พิมพ์แจกเป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางโต๊ะ รักรุ่งเรือง และ นายส่ง รักรุ่งเรือง
|
กฤษณาสอนน้องคำฉันท์![]() ผู้แต่ง : สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2508 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พ.ต.อ. (พิเศษ) ทรง บุรานนท์
|
คำกลอนสุภาษิต และ ทุกกฏะสอนบุตร![]() ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2480 หมายเหตุ : พิมพ์แจกในงานปลงศพ ขุนพินิจทัณฑกิจ (มาลัย บุรารักษ์)
|
กากีกลอนสุภาพและสมบัติอมรินทร์คำกลอน![]() ผู้แต่ง : เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2504 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายประยัติ เวชพงษ์
|
นำเที่ยวเมืองสุโขทัย![]() ผู้แต่ง : ตรี อมาตยกุล ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2508 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงวิญญูประเทศ (พอน อยู่สุข)
|
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา![]() ผู้แต่ง : ตรี อมาตยกุล ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2509 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางริ้ว ประกาศสุขการ และนายสุธี ประกาศสุขการ
|
สมบัติศิลปจากบริเวณเขื่อนภูมิพล![]() ผู้แต่ง : กรมศิลปากร ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2509 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นที่ระลึกในการฌาปนกิจศพ นายนกยูง พงษ์สามารถ
|
อนุสสรเมืองสงขลา![]() ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร ปีที่พิมพ์ : 2484 หมายเหตุ : พิมพ์แจกเป็นที่ระฤกในงานพิธีเปิดที่มำการใหม่ศาลจังหวัดสงขลา วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2484
|
โคลงเรือลอยพระประทีป![]() ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร ปีที่พิมพ์ : 2466 หมายเหตุ : -
|
เรื่องพระราชลัญจกรและตราประจำตัวประจำตำแหน่ง![]() ผู้แต่ง : พระยาอนุมานราชธน ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2493 หมายเหตุ : สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในงานพระศพ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
|
ตำรายาของพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์![]() ผู้แต่ง : พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 5 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2482 หมายเหตุ : ขุนวิจิตรวรรณกร พิมพ์แจกในงานฌาปนกิจศพ นายโล้น นางเปลี่ยน นาคะนาท ผู้บิดามารดา
|
เรื่องเลิกทาสในรัชกาลที่ 5![]()
ผู้แต่ง : กรมศิลปากร ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2499 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาอุเมนเทพโกสินทร์ (ประสาน บุรณศิริ)
|
พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ฉบับกรมศิลปากร![]()
ผู้แต่ง : กรมศิลปากร ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2518 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณแม่ทองอยู่ ศิลปเดช จ.ม.
|
อธิบายเรื่องธงไทย![]()
ผู้แต่ง : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ประเสริฐสมุด ปีที่พิมพ์ : 2476 หมายเหตุ : พิมพ์ในงานปลงศพนางเปี่ยม เทศสอาด และพระราชทานเพลิงศพนายร้อยโทเปรื่อง เทศสอาด
|
รวมเรื่องสั้นของเสฐียรโกเศศ![]()
ผู้แต่ง : พระยาอนุมานราชธน
|
ประชุมนิทานพระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 6 ภาค 2![]()
ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2505
หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายกลั่น ณ นคร หนังสือประชุมนิทานพระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 6 ภาค 2 เล่มนี้ รวบรวมนิทานพระราชนิพนธ์จำนวน 3 เรื่อง ด้วยกัน คือ เรื่องนากพระโขนงที่สอง เรื่องนายสุวรรณถูกขโมย และเรื่องความลับแผ่นดิน |
ตำนานและคำไหว้พระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช![]()
ผู้แต่ง : - |
รวมเรื่องเมืองนครศรีธรรมราช![]()
ผู้แต่ง : -
|
จดหมายเหตุเสด็จประพาสเกาะชวา ในรัชกาลที่ 5 ครั้งที่ 1 และ 2![]()
ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
|
พระราชหัตถเลขา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จประพาสมณฑลราชบุรี ในปีระกา ร.ศ. 128 (พ.ศ. 2452)![]()
ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
|
เรื่องมหาดเล็ก![]()
ผู้แต่ง : กรมศิลปากร
|
ตำนานศุลกากร![]()
ผู้แต่ง : พระยาอนุมานราชธน
|
ตำนานพระพุทธรูปสำคัญ![]()
ผู้แต่ง : สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
|
ตำนานเรือรบไทย![]()
ผู้แต่ง : ดำรงราชานุภาพ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา, 2405-2486.
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2496
หมายเหตุ : ต้นฉบับจากกรมศิลปากร พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพนาวาอากาศเอก พระประพิณพนยุทธ์ (พิณ พลชาติ)
กล่าวถึงประวัติเรือรบไทยตั้งแต่สมัยโบราณ 2 ชนิด คือ เรือรบใช้สำหรับทางแม่น้ำและเรือรบใช้สำหรับทางทะเล
|
พงศาวดารเมืองสงขลา และพงศาวดารเมืองพัทลุง![]()
ผู้แต่ง : พระยาวิเชียรคีรี (ชม ณ สงขลา), หลวงศรีวรวัตร (พิณ จันทโรจวงศ์)
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2498
หมายเหตุ : พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงจรูญบุรกิจ (จรูญ ณ สงขลา)
รวบรวมเนื้อหาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเมืองสงขลาและเมืองพัทลุง สมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์
|
ประวัติพุทธศาสนา![]()
ผู้แต่ง : -
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2492
หมายเหตุ : พิมพ์เป็นบรรณาการในงานพระราชทานเพลิงศพ ขุนเกษมกรรณสูต (ระเส็ง กรรณสูต)
นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธประวัติ ปฐมสังคายนา ทุติยสังคายนา ตติยสังคายนา การเผยแผ่พระพุทธศาสนามาถึงสุวรรณภูมิ และกล่าวถึงกำเนิดพุทธศาสนามหายาน
|
ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 21 จดหมายเหตุเรื่องเจรจาความเมืองระหว่างไทยกับพม่า![]()
ผู้แต่ง : -
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2505
หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายสุขุม เมาลานนท์
ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 21 นี้เป็นจดหมายเหตุเรื่องเจรจาความเมืองระหว่างไทยกับพม่า ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มตั้งแต่ รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 4 ครั้ง ซึ่งมีรายละเอียดได้รวบรวมไว้ในหนังสือเล่มนี้แล้ว
|
ชุมนุมพระนิพนธ์และนิทานโบราณคดี (บางเรื่อง) และประเพณีทำบุญ![]()
ผู้แต่ง : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2504
หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายร้อยตำรวจเอก ขุนผลาญไพรินทร์ (เลื่อน นวลักษณ์)
รวบรวมเรื่องลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณ การอำนวยพร เรื่องโจรแปลกประหลาด พระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และประเพณีทำบุญของกรมศิลปากร
|
ตำนานเรื่องเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้น![]()
ผู้แต่ง : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
กล่าวถึงเรื่องราวประวัติของเครื่องโต๊ะและเครื่องถ้วยปั้น เครื่องถ้วยที่มีในเมืองไทยและเรื่องของการปั้นเครื่องถ้วย
|
โคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 และสุภาษิตพระร่วง![]()
ผู้แต่ง : จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2396-2453, กรมศิลปากร
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2508
หมายเหตุ : อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์สนัด สุวรรณะบุณย์ ต้นฉบับจากกรมศิลปากร มีรูปและชีวประว้ติผู้ตาย
โคลงสุภาษิต ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชนิพนธ์ในโอกาสต่างๆ เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้พสกนิกร ประพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดี มีคุณธรรม เมตตา กรุณา ซื่อสัตย์สุจริต ส่วนสุภาษิตพระร่วงหรือบัญญัติพระร่วง คัดจากประชุมจารึกวัด เชตุพล เล่ม 2 กล่าวกันว่าเป็นพระราโชวาทของพระร่วงเจ้า หรือพ่อขุนรามคำแหง ทรงแสดงสั่งสอนประชาชน ให้รู้จักหลักการดำเนินชีวิต
|
ตำราฟ้อนรำ![]()
ผู้แต่ง : - ว่าด้วยตำรารำไทย ประกอบด้วยรูปแสดงท่ารำต่างๆ เช่น เทพประนม ปฐม พรหมสี่หน้า สอดสร้อยมาลา ช้านางนอน ผาลาเพียงไหล่ พิสมัยเรียงหมอน กังหันร่อน ภมรเคล้า เป็นต้น |
ตำนานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช![]()
ผู้แต่ง : - เป็นหนังสือที่พิมพ์ตามต้นฉบับเดิมซึ่งสันนิษฐานว่าแต่งในสมัยพระเจ้าปราสาททอง เป็นตำนานเมืองและการสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ของเมืองนครศรีธรรมราช |
อตีตังสญาณ หรือเครื่องวิทยาการกำหนดรู้เรื่องในอดีต![]()
ผู้แต่ง : ธนิต อยู่โพธิ์ เป็นหนังสือสารคดีที่จัดพิมพ์ถวายพระภิกษุและสามเณรซึ่งเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ในเทศกาลเข้าพรรษาเป็นประจำทุกปี ต่อมาได้มีการก่อสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในต่างจังหวัดหลายแห่ง และได้เลือกเรื่องอตีตังสญาณ หรือเครื่องวิทยาการกำหนดรู้เรื่องในอดีต จัดพิมพ์ถวายเป็นธรรมบรรณาการแก่พระภิกษุและสามเณร โดยแปลความหมายของคำว่าญาณในทางพุทธศาสนาว่าคือความหยั่งรู้ แต่ความหมายในหนังสือเล่มนี้เน้นในทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี โดยอาศัยจดหมายเหตุ เอกสารพงศาวดาร ตำนานและจารึก ฯลฯ นอกจากนี้ยังนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เพื่อช่วยในการค้นคว้าเป็นที่ยอมรับและทันสมัย |
ชีวิวัฒน์เที่ยวที่ต่างๆ ภาค 7![]()
ผู้แต่ง : สมเด็จเจ้าฟ้าภานุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภานุฟันธุวงศ์วรเดช
|
คำไหว้พระธาตุ นครศรีธรรมราช![]()
ผู้แต่ง : หอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช
|
พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 1 กลอนเพลงยาวนิราศ เรื่องรบพม่าที่ท่าดินแดง |
นิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีน ครั้งกรุงธนบุรี เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2324![]()
ผู้แต่ง : พระยามหานุภาพ
|
เครื่องสายไทย |
ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 58 เรื่องโกศาปานไปฝรั่งเศส ภาคที่ 2![]()
ผู้แต่ง : -
กล่าวถึงการเดินทางของราชทูต (โกศาปาน) ที่เดินทางไปประเทศฝรั่งเศสตามเมืองต่าง ๆ ตั้งแต่บทที่ 49 - 64 ได้แก่ มณฑลฟลังดร์ เมืองแซงต์เดอนีส์ เมืองอาราส เมืองกาแลส์ เมืองดึงแกร์ก เมืองตูเนย์ เมืองวาลังเซียนส์ เมืองเดอแนง เมืองดูแอย์ เมืองกังแบรย์ เมืองเปรอน เมืองแซงต์กันแตง เมืองลาแฟร์ เมืองซวาซงส์ และเมืองวิแลร์ก็อตเตรต์ ซึ่งเป็นการบรรยายถึงเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นขณะเดินทาง |
ประชุมสุภาษิตสุนทรภู่![]()
ผู้แต่ง : สุนทรภู่
เป็นหนังสือรวบรวมสุภาษิตของสุนทรภู่ โดยคัดจากนิราศต่าง ๆ เช่น นิราศพระบาท นิราศอิเหนา นิราศพระแท่นดงรัง และจากวรรณคดีที่เป็นบทประพันธ์ของสุนทรภู่ที่ให้ข้อคิดและคติเตือนใจ เช่น |
เรื่องเที่ยวไทรโยค คราวสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เสด็จประพาส เมื่อ พ.ศ. 2464![]()
ผู้แต่ง : -
เหตุที่สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข จะเสด็จประพาสไทรโยคในคราวนี้ เนื่องจากกรมทหารราบที่ 4 ซึ่งพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งผู้บังคับการพิเศษอยู่นั้น ได้รับรางวัลในการยิงเป้าในปี พ.ศ. 2464 จึงจัดให้มีงานฉลองโล่ที่ได้รับเป็นรางวัลขึ้นที่จังหวัดราชบุรี พระองค์จึงเสด็จไปประทับเป็นประธานในงานนั้น และทรงบำเพ็ญพระกุศลในอภิลักขิตสมัย ตรงกับวันประสูติด้วย ครั้งเสร็จการฉลองโล่ครั้งนั้นแล้ว สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข ได้เสด็จขึ้นไปตรวจทหารที่เมืองกาญจนบุรี แล้วเลยเสด็จประพาสทางลำน้ำน้อยขึ้นไปจนถึงเมืองไทรโยค ได้โปรดให้เรือเอก หลวงสุนาวินวิวัฒน์ (เหลียง สุนาวิน) จดรายวันการเสด็จประพาสไว้
|
หนังสือจดหมายระยะทางไปตรวจราชการแหลมมลายู ร.ศ. 121![]() ระยะทางไปตรวจราชการแหลมมลายู ร.ศ. 121 นี้ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ทรงนิพนธ์ขึ้นไว้เป็นบันทึกจดหมายเหตุรายวัน เมื่อคราวเสด็จไปตรวจราชการในมณฑลภูเก็ต มณฑลนครศรีธรรมราช และมณฑลชุมพร ในครั้งนั้นพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ พระประสงค์ในการเดินทางไปตรวจราชการครั้งนั้นก็เพื่อจะได้ทรงทราบถึงข้อ บกพร่องในการปฏิบัติงาน และเพื่อพัฒนาการไปรษณีย์ให้ก้าวหน้าขึ้น เนื่องจากได้ทอดพระเนตรสภาพความเป็นอยู่ของผู้คนในท้องถิ่น ตลอดจนวิธีการปฏิบัติงานของข้าราชการในแต่ละท้องถิ่นเหล่านั้น ซึ้งเป็นมูลเหตุให้ทรงเข้าพระทัยถึงปัญหาทั้งในด้านบุคคลและงานมณฑลต่าง ๆ ที่กำลังประสบอยู่ ทำให้สามารถจัดการแก้ไขพัฒนาทั้งงานและบุคคลได้ผลดี
คำอธิบาย:
พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานประชุมพระสังฆาธิการประจำปี 2525 ณ วัดกะพังสุรินทร์ จังหวัดตรัง
ครั้งที่พิมพ์ : Edition:
พิมพ์ครั้งที่ 3
|
ประวัติเมืองนครเขื่อนขันธ์ และประเพณีเกี่ยวกับชีวิต![]() กล่าวถึงประวัติเมืองนครเขื่อนขันธ์ ซึ่งตัดตอนมาจากพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2 และเรื่องประเพณีเกี่ยวกับชีวิตที่ตีพิมพ์อยู่ในเล่มนี้ มี 3 เรื่อง คือ ประเพณีทำบุญ ของนายเสฐียร พันธรังษี เปรียญแต่งร่วมกับพันเอกหลวงวิจิตรวาทการ ประเพณีบวชนาค พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธ์ ทรงนิพนธ์ และประเพณีทำศพ พระจรูญชวนะพัฒน์ กับหลวงวิศาลดรุณกร เรียบเรียง
คำอธิบาย:
พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายพันตำรวจเอก หลวงไววิชิต (ประสงค์ โกมลชนก) ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร วันที่ 18 กันยายน 2504
ครั้งที่พิมพ์ : Edition:
พิมพ์ครั้งที่ 1
|
พระราชวังหลัง |
เรื่องก่อนประวัติศาสตร์![]() เป็นเรื่องราวกล่าวถึงมนุษย์ในสมัยดึกดำบรรพ์ เมื่อครั้งยังไม่รู้จักจดเอาไว้เป็นหนังสือ หนทางที่จะทราบเรื่องราวสมัยก่อนประวัติศาสตร์จึงอยู่ที่การศึกษา ให้รู้จักใช้ สังเกต พิจารณาลักษณะของวัตถุที่ขุดค้นพบ แล้ววินิจฉัยลงข้อสันนิษฐานหาเหตุผลแวดล้อมประกอบกับวัตถุที่ขุดค้นได้ วิธีที่นักปราชญ์ชาวตะวันตกใช้เป็นแนวทาง แนวพิจารณาหาความรู้ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงอธิบายไว้ในหนังสือเล่มนี้อย่างชัดเจน
คำอธิบาย:
พิมพ์เป็นที่ระลึกในการพระราชทานเพลิงศพ รองเสวกเอก หลวงราชเนตร์รักษา (เพ็ชร์ พุกกะคุปต์)
ครั้งที่พิมพ์ : Edition:
พิมพ์ครั้งที่ 2
|
ธรรมเนียมราชตระกูลในกรุงสยาม![]() ธรรมเนียมราชตระกูลในกรุงสยาม เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงอธิบายลักษณะเจ้านายประเภทต่าง ๆ โดยละเอียด และเปรียบเทียบกับลักษณะของประเทศใกล้เคียง ให้ความรู้เกี่ยวกับราชประเพณีและรัฐประศาสโนบายในสมัยรัชกาลที่ 5
คำอธิบาย:
คณะพระภิกษุสามเณร วัดบวรนิเวศวิหาร พิมพ์อุทิศถวายส่วนกุศล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา ในการพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ สุสานหลวง วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 5 กรกฎาคม พุทธศักราช 2501
ครั้งที่พิมพ์ : Edition:
พิมพ์ครั้งที่ 1
|
ลำดับกษัตริย์กรุงเก่าคำฉันท์![]() เรื่องลำดับกษัตริย์กรุงเก่าคำฉันท์นี้ แต่งเป็นกาพย์ฉบัง 16 เนื้อเรื่องกล่าวถึงพระมหากษัตริย์ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนกระทั่งถึง รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ บอกจำนวนปีและ พ.ศ. ที่เสด็จขึ้นครองราชสมบัติทุกรัชกาล
คำอธิบาย:
พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายสาวอรวรรณ เลขะกุล ณ เมรุวัดหัวลำโพง พระนคร
ครั้งที่พิมพ์ : Edition:
พิมพ์ครั้งที่ 2
|
เด็กไทยสมัยก่อนเก่ากับเด็กเราสมัยนี้![]() เผยแพร่ความรู้ให้เด็กไทยในปัจจุบันได้เข้าถึงพื้นฐาน วัฒนธรรมประเพณี ความคิดและความเชื่อของคนไทยในอดีต เพื่อให้เยาวชนรุ่นใหม่ได้คิดช่วยกันจรรโลงลักษณะของความเป็นคนไทยที่มี ลักษณะโดดเด่น เพียบพร้อมไปด้วยความมีน้ำใจไมตรีให้อยู่เป็นเอกลักษณ์ของความเป็นคนไทยตลอด ไป
คำอธิบาย:
กรมศิลปากรจัดพิมพ์ประกอบนิทรรศการพิเศษเนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ 2533
ครั้งที่พิมพ์ : Edition:
พิมพ์ครั้งที่ 1
|
เรื่องสังเค็ด |
กฎหมายรัชกาลที่ 1 ฉบับตรา 3 ดวง ลักษณะอาญาหลวงแลลักษณะอาญาราษฎร์![]() กฎหมายตราสามดวง ที่เลือกมาเฉพาะลักษณะอาญาหลวง และลักษณะอาญาราษฎร์ คือกฎหมายที่มีการลงโทษทางอาญา และยังรวถึงการวิวาท ลักษณะโจร ลักษณะมูลคดีวิวาท ลักษณะโจรห้าเส้น ลักษณะขบถศึก พระราชกำหนดเก่าและพระราชกำหนดใหม่ กฎหมายพระสงฆ์ เป็นต้น
คำอธิบาย:
พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ มหาอำมาตย์ตรี พระยาลพะนรินทร์เืรืองศักดิ์ เมื่อปีมะแม พ.ศ. 2474
ครั้งที่พิมพ์ : Edition:
พิมพ์ครั้งที่ 1
|
นิราศพระราชนิพนธ์ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท![]() เป็นพระราชนิพนธ์กล่าวถึงการเสด็จไปรบพม่าที่เมืองนครศรีธรรมราช ปีมะเมีย พ.ศ. 2329 และกล่าวถึงการเสด็จไปตีเมืองพม่า ปีฉลู พ.ศ. 2336 เป็นการบรรยายการเดินทางตามสถานที่ต่างๆ รวมถึงอารมณ์ความรู้สึกข้องผู้ประพันธ์ขณะเดินทาง
คำอธิบาย:
พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าศีลวราลังการ (เนตร) วัดชนะสงคราม เมื่อปีขาล พ.ศ. 2469
ครั้งที่พิมพ์ : Edition:
พิมพ์ครั้งที่ 1
|
ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 52 จดหมายเหตุเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต |
จดหมายหลวงอุดมสมบัติ (ภาค 1) และพงศาวดารเมืองนครศรีธรรมราช![]() มีเนื้อหาแบ่งออกเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 เรื่องพงศาวดาริอันเป็นมูลเหตุแห่งจดหมายหลวงอุดมสมบัติ กล่าวถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่าเมื่อ พ.ศ. 2310 และเกิดเหตุจลาจลวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ตอนที่ 2 เป็นจดหมายหลวงอุดมสมบัติเขียนจดหมายกราบเรียนพระยาศรีพิพัฒน์ (ทัด) กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เมืองไทรบุรียกกำลังมาตีเมืองสงขลาในปีะ พ.ศ. 2381 ตอนที่ 3 พงศาวดารเมืองนครศรีธรรมราชของหลวงอนุสรสิทธิกรรม (บัว ณ นคร) กล่าวถึงเหตุการณ์ตั้งแต่หลวงสิทธินายเวรมหาดเล็ก (หนู) พระปลัดเมืองนครผู้รักษาราชการเมือง ตั้งตัวขึ้นเป็นเจ้านคร และได้ยกกำลังไปตีหัวเมืองต่างๆ ตั้งเป็นชุมนุมเจ้านคร ส่วนท้ายเล่มกล่าวถึงประวัติพระยานคร (น้อย) และจดหมายบอกข่าวราชการจากกรุงเทพฯ ถึงเจ้าพระยานคร (น้อย)
คำอธิบาย:
พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายสุทธิพงษ์ บุญฉลอง ณ ฌาปนสถานวัดพระพิเรนทร์ วันที่ 21 พฤษภาคม 2503
ครั้งที่พิมพ์ : Edition:
พิมพ์ครั้งที่ 1
|
พระบรมราโชวาท ในรัชกาลที่ 5![]() พระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ได้จัดพิมพ์ในเล่ม นี้ เป็นพระบรมราโชวาทซึ่งมีไปพระราชทานพระบรมโอรสาธิราช ขณะประทับศึกษาอยู่ ณ ต่างประเทศภาคหนึ่ง และอีกภาคหนึ่งเป็นพระบรมราโชวาททรงมีพระราชทานพระเจ้าลูกยาเธอ เนื่องในโอกาสเสด็จออกไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ เมื่อพุทธศักราช 2428 พระบรมราโชวาทภาคหลังนี้แม้จะทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเฉพาะสำหรับแนะนำสั่งสอน พระเจ้าลูกยาเธอในกาละหนึ่ง แต่เนื้อความล้วนเป็นคติสอนใจที่เป็นผลได้แก่ผู้อ่านทั่วไป โดยเฉพาะกุลบุตร กุลธิดา ซึ่งกำลังอยู่ในวัยเรียน ทั้งที่ศึกษาอยู่ในบ้านเมืองของเรา และที่ออกไปศึกษาอยู่ ณ ต่างประเทศ ส่วนพระบรมราโชวาทภาคแรกนั้น นอกจากเนื้อความอันเป็นคติสอนใจที่ดีเยี่ยมแล้ว ผู้อ่านยังได้มีโอกาสทราบถึงความจริงในพระราชหฤทัยของพระองค์ที่ทรงมีต่อ การดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของชาติ รวมทั้งความห่วงใยที่พระองค์มีต่อพระบรมราชโอรส ซึ่งจะเป็นผู้สืบต่อตำแหน่งพระมหากษัตริย์นั้นด้วย
คำอธิบาย:
พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระอนุศาสน์โศภณ (เอียด วรรณบวร) ณ เมรุวัดนิคมประทีป อำเภอเมือง จังหวัดตรัง
ครั้งที่พิมพ์ : Edition:
พิมพ์ครั้งที่ 1
|
ตำนานเครื่องมโหรีปี่พาทย์![]() ตำนานเครื่องมโหรีปี่พาทย์นี้ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงนิพนธ์ขึ้น โดยมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับตำนานเครื่องมโหรีปี่พาทย์ ต้นตำราเครื่องสังคีต เรื่องตำนานเครื่องมโหรี เรื่องตำนานมโหรีเครื่องสาย เรื่องตำนานเครื่องปี่พาทย์ เรื่องตำนานกลองแขก เรื่องตำนานปี่ซอและแคน รวมถึงเครื่องมโหรีปี่พาทย์ของไทย
คำอธิบาย:
พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ นาวาตรี หลวงจักรวิธานนิเทศ (สนธิ์ วังศะสนธิ) ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม 19 พฤษภาคม 2504
ครั้งที่พิมพ์ : Edition:
พิมพ์ครั้งที่ 1
|
บทดอกสร้อยสวรรค์ ครั้งกรุงเก่า![]() เป็นหนังสือรวบรวมบทดอกสร้อย ซึ่งเป็นการละเล่นอย่างหนึ่งมีมาแต่สมัยโบราณเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก หรือเทศกาลทอดกฐิน ทอดผ้าป่า ผู้มีบรรดาศักดิ์มักพาบริวารพร้อมโทนทับกรรับฉิ่ง พร้อมสำรับ ลงเรือไปเที่ยว เมื่อไปพบปะกับเรือลำอื่นก็ร้องลำนำโต้ตอบกันไปมา เป็นการละเล่นที่เรียกว่า ดอกสร้อย ซึ่งผิดกับการเล่นสักวาตรงที่ ดอกสร้อยเล่นแค่ 2 วง ชายหนึ่งวง หญิงหนึ่งวง มีบทร้องยากกว่าสักวา ส่วนสักวาจะเล่นกี่วงก็ได้และมีบทร้องง่ายกว่าดอกสร้อย
คำอธิบาย:
พิมพ์แจกในงานกฐินพระราชทาน มหาอำมาตย์นายก เจ้าพระยายมราช ณ วัดโปรดเกศ พ.ศ. 2463
ครั้งที่พิมพ์ : Edition:
พิมพ์ครั้งที่ 1
|
ตำหนักแพ![]()
เรื่องตำหนักแพ เป็นคำใหม่ไม่ใช่คำโบราณ ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอธิบายว่าคำที่เรียกตำหนักแพ คือ ท่าที่ประทับเรือพระที่นั่งของพระเจ้าแผ่นดิน หรือพระมหาอุปราช แต่ก่อนมีชื่อว่าพระฉนวนน้ำประจำท่าพระราชวังหลวงหรือพระราชวังบวรฯ
คำอธิบาย:
จัดพิมพ์เนื่องในงานฌาปณกิจศพ นางรัฐสถานพิทักษ์ (เจิม กาญจนะหุต) และนายประดิษฐ์ ตุงคะเศรณี ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2490
ครั้งที่พิมพ์ : Edition:
พระนคร, 2490
|
ประชุมพงศาวดารภาคที่ 19 จดหมายเหตุหอสาตราคม จดหมายเหตุเรื่องสุริยอุปราคา ปีมะโรง พ.ศ. 2411 และพระราชนิพนธ์ฯ![]()
ในประชุมพงศาวดารภาคที่ 19 นี้ มีจดหมายเหตุ 3 เรื่องด้วยกันคือ
คำอธิบาย:
พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์เอก หลวงบริบูรณ์วีหิพรรณ (ม้าน นัจจะนันทน์) วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505
ครั้งที่พิมพ์ : Edition:
พิมพ์ครั้งที่ 3
|
ว่าด้วยแม่น้ำที่มีในประเทศสยาม![]()
เป็นหนังสือที่ให้ความรู้ทางภูมิศาสตร์ในสมัยนั้น ซึ่งพระยามหาอำมาตยาธิบดี (เส็ง วีรยสิริ) ขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นหลวงเทศาจิตรพิจารณ์ ปลัดกรมแผนที่ได้ไปทำการรางวัด
คำอธิบาย:
พิมพ์ในงานปลงศพ นายหนึง สุวารี
ครั้งที่พิมพ์ : Edition:
พิมพ์ครั้งที่ 2
|
จดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสแหลมมลายู คราว ร.ศ. 107 และ 108![]()
กล่าวถึงการเสด็จประพาสหัวเมืองต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดคุณประโยชน์แก่ประเทศหลายประการ ทำให้ทราบถึงความเป็นอยู่ ทุกข์ สุข ของราษฎรตามหัวเมือง ซึ่งในคราวเสด็จประพาสแหลมมลายู เมื่อ ร.ศ.108 ได้ทรงพบว่าราษฎรที่เมืองพัทลุงเป็นไข้ทรพิษตายกันมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาพัทลุงส่งคนเข้าไปฝึกหัดปลูกฝีที่โรงพยาบาลในกรุงเทพฯ แล้วให้รับหนองโคออกมาปลูกฝีที่เมืองพัทลุงให้ราษฎรทุกปี
ครั้งที่พิมพ์ : Edition:
พิมพ์ครั้งที่ 1
|
มูลบทบรรพกิจ![]() หนังสือมูลบรรพกิจฉบับนี้ พระยาศรีสุนทรโวหาร น้อย ต้นสกุลอาจารยางกูร แต่เมื่อยังเป็นหลวงสารประเสริฐ ปลัดกรมพระอาลักษณ์ แต่งขึ้นสำหรับใช้เป็นแบบสอนหนังสือไทยในโรงเรียนหลวง เมื่อราว พ.ศ. 2414 เมื่อแต่งแล้วได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตีพิมพ์ที่โรงพิมพ์หลวงในพระบรมมหาราชวัง จำนวน 2,000 ฉบับ สำหรับเป็นแบบเรียนให้กุลบุตร กุลธิดา ศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทยในสมัยนั้น
คำอธิบาย:
พิมพ์แจกเป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเรือเอก พระยามหาโยธา (ฉ่าง แสง - ชูโต) ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2489
ครั้งที่พิมพ์ : Edition:
พิมพ์ครั้งที่ 1
|
ที่ระลึกในการถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2509![]() จัดทำขึ้นเพื่อเป็นหนังสือที่ระลึกเพื่อแจกเป็นอภินันทนาการแก่บรรดาผู้ที่ ไปร่วมงานในการถวายผ้าพระกฐินพระราชทานครั้งนี้ เนื้อรวบรวมข้อมูลตำนานเมืองนครศรีธรรมราชฉบับของพระยาโกมารกุลมนตรี ประวัติวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารของพระครูปลัดวิริยะวัฒน์ (สมภพ ป.) วัดราชผาติการาม กับตำนานเรื่องพระครูกา
ครั้งที่พิมพ์ : Edition:
พิมพ์ครั้งที่ 1
|
นิยายพระบรมธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช![]()
นิยายพระบรมธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นหนังสือที่กล่าวถึงประวัติและตำนานของพระบรมธาตุ เริ่มเมื่อตอนแบ่งปันพระบรมธาตุเมื่อพระพุทธเจ้าดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพาน ณ เมืองกสินารา มีกษัตริย์เมืองต่าง ๆ มาขอแบ่งปันพระธาตุนำไปก่อพระสถูปไว้ทุก ๆ นคร พร้อมจัดงานสมโภชพระบรมธาตุ
ครั้งที่พิมพ์ : Edition:
พิมพ์ครั้งที่ 2
|
ตำนานกฐิน![]() กล่าวถึงความหมายของคำต่างๆ ที่ใช้ในเรื่องกฐิน วิธีทอดกฐินตามแบบแผนที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงได้ทรงวางแผนไว้ เมื่อครั้งที่ทรงสถาปนาวัดเบญจมบพิตรขึ้น วิธิกราลกฐินที่วางไว้ในสมัยรัชกาลที่ ๕ อานิสงส์สำหรับผู้ทอดกฐิน และความเป็นมาของกฐินหลวง ซึ่งเป็นราชประเพณีที่มีมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี...
คำอธิบาย:
พระโสภณอักษรกิจ พิมพ์ช่วยในการทอดกฐินสามัคคี ณ วัดราชโยธา (ลาดบัวขาว) วันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
ครั้งที่พิมพ์ : Edition:
พิมพ์ครั้งที่ ๓.-- พระนคร : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๗๙.
|
จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน พ.ศ. 2411 (ปลายรัชกาลที่ 4 - ต้นรัชกาลที่ 5)![]() เป็นจดหมายเหตุพระราชกิจรายวันตั้งแต่ปีมะโรง จ.ศ. 1230 (พ.ศ. 2411 ยังเป็นรัชกาลที่ 4) จนถึงวันพุธ แรม 12 ค่ำ ปีมะโรง จ.ศ. 1230 (พ.ศ. 2411 ยังเป็นรัชกาลที่ 5) ต้นฉบับเป็นสมุดไทยดำ เขียนดินสอขาว มีอยู่ที่หอสมุดแห่งชาติเพียงเล่มเดียว นายยิ้ม ปัณฑยางกูร ผู้เชี่ยวชาญทางจดหมายเหตุได้พบและให้คัดต้นฉบับรักษาไว้
คำอธิบาย:
พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าหญิง วิมลปัทมราช จิรประวัติ ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส 16 พฤษภาคม 2508
ครั้งที่พิมพ์ : Edition:
พิมพ์ครั้งที่ 1
|
เพลงดนตรีประวัติศาสตร์ (หลวงวิจิตรวาทการ)![]() เพลงดนตรีประวัติ ศาสตร์ เป็นบทร้อยกรองบรรยายเรื่องราวในประวัติศษสตร์ของชนชาติไทย ซึ่งหลวงวิจิตรวาทการแต่งเป็นคำกลอนสำหรับขับร้อง และบรรเลงทางสถานีวิทยุกระจายเสียง เพื่อให้ความรู้ความเป็นมาของชนชาติไทย และปลูกจิตสำนึกความรักชาติแก่ประชาชน...
คำอธิบาย:
กรมศิลปากร พิมพ์ถวายพระภิกษุสามเณรในเทศกาลเข้าพรรษา พ.ศ. ๒๔๘๑
ครั้งที่พิมพ์ : Edition:
พระนคร : โรงพิมพ์ท่าพระจันทร์, ๒๔๘๑.
|
โคลงกวีโบราณ![]() โคลงกวีโบราณ เป็นหนังสือประชุมโคลงกวีโบราณที่แต่งขึ้นตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา และเป็นที่ยอมรับนับถือกันในหมู่กวีแต่ครั้งโบราณว่าเป็นโคลงกวีชั้นดี โคลงโบราณที่รวบรวมพิมพ์ไว้ในเล่มนี้ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวว่า เข้าใจว่าพระยาตรังรวบรวมถวายกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ เมื่อครั้งกลับเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ...
คำอธิบาย:
พิมพ์แจกในงานกฐินพระราชทาน มหาอำมาตย์นายก เจ้าพระยายมราช เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ณ วัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๔๖๗
ครั้งที่พิมพ์ : Edition:
๒.-- โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๖๗
|
จดหมายเหตุระยะทางเสด็จประพาสในรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสหัวเมืองในแหลมมลายู รัตนโกสินทรศก 117-118-119 |
ภูมิสถานกรุงศรีอยุธยา |
ตำนานพระพุทธสิหิงค์![]()
ตามตำนานกล่าวว่า พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปที่พระมหากษัตริย์ลังกาได้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 700 และเข้าสู่เมืองไทยในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ปัจจุบันมีพระพุทธสิหิงค์อยู่ 3 องค์ คือ พระพุทธสิหิงค์ที่ประดิษฐานในพระที่นั่งพุทไธสวรรค์ พระพุทธสิหิงค์ที่ประดิษฐานในหอพระสิหิงค์ จังหวัดนครศรีธรรมราช และพระพุทธสิหิงค์ที่ประดิษฐานอยู่ในวัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่
คำอธิบาย:
-
ครั้งที่พิมพ์ : Edition:
พระนคร : โรงพิมพ์วัฒนาพานิช
|
จดหมายเหตุ เรื่อง เปิดรถไฟสายตะวันออกและสายเหนือ และ เสด็จพระราชดำเนินประพาสเมืองฉะเชิงเทรา![]()
บันทึกเหตุการณ์การเสด็จพระราชดำเนินเปิดรถไฟสายตะวันออก(ถึง ฉะเชิงเทรา)และสายเหนือ(ถึงพิษณุโลก) ณ พลับพลาพระราชพิธีสถานีรถไฟกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 24 มกราคม ร.ศ. 126 เวลาเช้า 3 โมงเศษ แล้วเสด็จพระราชดำเนินด้วยรถไฟพิเศษสายตะวันออกผ่านสถานีบางกระสัน คลองแสนแสบ บ้านหัวหมาก บ้านทับช้าง สถานีที่ 2 หัวตะเข้ คลองหลวงแพ่ง คลองพระยาเดโช ถึงสถานีฉะเชิงเทรา เวลาเช้า 5 โมงเศษ เสด็จลงจากรถไฟพระที่นั่งแล้วเสด็จลงเรือประทับล่องไปตามลำน้ำบางปะกงถึง ที่ว่าการมณฑล เสด็จประทับห้องประชุม พระราชทานพระแสงราชศัสตราประจำเมือง แล้วจึงเสด็จประทับเรือพระที่นั่ง ประทับแรม ณ ตำหนักพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นมรุพงศ์ศิริพัฒน์เพื่อประพาสเมืองฉะเชิงเทรา
คำอธิบาย:
เจ้าจอมมารดาอ่อนรัชกาลที่ 5 พิมพ์ในการบำเพ็ญกุศลหน้าพระศพ พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ ครบ 100 วัน วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2476
ครั้งที่พิมพ์ : Edition:
โรงพิมพ์พระจันทร์, 2476
|
ราชอาณาจักร์ทะเลใต้![]()
เป็นหนังสือจัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในงานกฐินพระราชทาน วัดพระธาตุไชยา อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อ พ.ศ. 2493 เนื้อหาโดยย่อประกอบด้วยสำเนาหนังสือที่กรมศิลปากรแจ้งเหตุผลในการยกฐานะวัด พระธาตุไชยาจากวัดราษฎร์เป็นวัดหลวงและคำแสดงปาถกฐาของ ดร.จอร์จส์ เซเดส์ ที่สยามสมาคม เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2486 เรื่องราชอาณาจักร์ทะเลใต้กล่าวถึงอาณาจักรศรีวิชัยเมื่อประมาณ 1200 - 1800 ปีมาแล้วมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองปาเล็มบัง ดังความตอนหนึ่งกล่าวว่า
คำอธิบาย:
-
ครั้งที่พิมพ์ : Edition:
-
|
ประวัติพระผงบารมีพระบรมธาตุ 84000 องค์![]()
กล่าวถึงประวัติพระผงบารมี พระบรมธาตุ 84000 องค์ ที่ใช้ในการทำพิธีปลุกเสกพระเครื่องของอาจารย์ชุม ไชยคีรี อำเภอเขาไชยสน จังหวัดพัทลุง เป็นผู้สร้างถวายพระบรมธาตุ ก่อนทำพิธีปลุกเสก อาจารย์ชุม ได้ตระเวนไปตามเมืองต่างๆ ที่ปรากฎตามประวัติศาสตร์ว่าเป็นสถานที่ซึ่งเคยสร้างพระเครื่องลางของขลัง เพื่อรวบรวมผงวิเศษ 108 กรุ ทั่วประเทศ เมื่อหาผงได้ครบ 108 กรุ แล้วก็นำมายังเมืองนครศรีธรรมราช ขอเชิญวิญญาณของอาจารย์คง ซึ่งเป็นอาจารย์ของขุนแผนมาเข้าทรง ณ โรงพิธีพระวิหารหลวงวัดพระมหาธาตุ จัดสร้างพระพิมพ์ตามแบบเก่าของเมืองนครศรีธรรมราช เช่น แบบพระวัดนางกราทรงนาคปรก แบบวัดท่าเรือทรงเรือนแก้วมีปรกโพธิ์ และพระพุทธลีลาแบบสุโขทัย
ครั้งที่พิมพ์ : Edition:
โรงพิมพ์ศิริสวัสดิ์,2497
|