C
C
C
Thai
English
หน้าหลัก
กรมศิลปากร
ประวัติและบทบาทหน้าที่
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ผู้บริหารกรมศิลปากร
ผู้บริหารระดับสูง
ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ
ผู้อำนวยการสำนักส่วนกลาง
ผู้อำนวยการสำนักศิลปากร
CIO
โครงสร้างองค์กร
บุคลากรดีเด่น
ยุทธศาสตร์/แผนปฏิบัติราชการ
แผนงาน/โครงการ/งบประมาณ
หน่วยงานในสังกัด
บริการประชาชน
พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง
อุทยานเสมือนจริง
GIS (ระบบภูมิสารสนเทศแหล่งมรดกศิลปวัฒนธรรม)
NSW (ขอนำเข้า/ส่งออก โบราณวัตถุศิลปวัตถุ)
e-service (จดแจ้งการพิมพ์, ขอเลข ISSN, ISBN, CIP)
คลังข้อมูลดิจิทัล
จำหน่ายบัตรการแสดงออนไลน์
จำหน่ายหนังสือกรมศิลปากร
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารฯ
อื่นๆ
คู่มือและมาตรฐานกรมศิลปากร
แผ่นพับนำชม
เอกสารดาวน์โหลด
แจ้งและร้องเรียน
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
แบบสำรวจความพึงพอใจ
แหล่งเรียนรู้
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
อุทยานประวัติศาสตร์
หอสมุดแห่งชาติ
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรม
ข่าวรับสมัครงาน
จัดซื้อจัดจ้าง
ข่าว Feed
คลังวิชาการ
องค์ความรู้
ด้านดนตรีและนาฏศิลป์
ด้านภาษาและหนังสือ
ด้านเอกสารจดหมายเหตุ
ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
ด้านสถาปัตยกรรมและช่างศิลป์
ความรู้ทั่วไป
ความรู้ด้านดนตรีและนาฏศิลป์
ความรู้ด้านภาษา หนังสือ และเอกสาร
ความรู้ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
ความรู้สถาปัตยกรรมและช่างศิลป์
วีดิทัศน์
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์.
กฏระเบียบ
กฎหมายและระเบียบ
ITA
ติดต่อ
Thai
English
Login
Register
search
หน้าหลัก
กรมศิลปากร
ประวัติและบทบาทหน้าที่
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ผู้บริหารกรมศิลปากร
ผู้บริหารระดับสูง
ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ
ผู้อำนวยการสำนักส่วนกลาง
ผู้อำนวยการสำนักศิลปากร
CIO
โครงสร้างองค์กร
บุคลากรดีเด่น
ยุทธศาสตร์/แผนปฏิบัติราชการ
แผนงาน/โครงการ/งบประมาณ
หน่วยงานในสังกัด
บริการประชาชน
พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง
อุทยานเสมือนจริง
GIS (ระบบภูมิสารสนเทศแหล่งมรดกศิลปวัฒนธรรม)
NSW (ขอนำเข้า/ส่งออก โบราณวัตถุศิลปวัตถุ)
e-service (จดแจ้งการพิมพ์, ขอเลข ISSN, ISBN, CIP)
คลังข้อมูลดิจิทัล
จำหน่ายบัตรการแสดงออนไลน์
จำหน่ายหนังสือกรมศิลปากร
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารฯ
อื่นๆ
คู่มือและมาตรฐานกรมศิลปากร
แผ่นพับนำชม
เอกสารดาวน์โหลด
แจ้งและร้องเรียน
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
แบบสำรวจความพึงพอใจ
แหล่งเรียนรู้
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
อุทยานประวัติศาสตร์
หอสมุดแห่งชาติ
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรม
ข่าวรับสมัครงาน
จัดซื้อจัดจ้าง
ข่าว Feed
คลังวิชาการ
องค์ความรู้
ด้านดนตรีและนาฏศิลป์
ด้านภาษาและหนังสือ
ด้านเอกสารจดหมายเหตุ
ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
ด้านสถาปัตยกรรมและช่างศิลป์
ความรู้ทั่วไป
ความรู้ด้านดนตรีและนาฏศิลป์
ความรู้ด้านภาษา หนังสือ และเอกสาร
ความรู้ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
ความรู้สถาปัตยกรรมและช่างศิลป์
วีดิทัศน์
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์.
กฏระเบียบ
กฎหมายและระเบียบ
ITA
ติดต่อ
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
โบราณสถานวัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม
จำนวนผู้เข้าชม 224
โบราณสถานวัดศรีพิจิตรกิรติกัลยารามหรือโบราณสถานร้าง ต.๒๙ ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองสุโขทัยด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ห่างจากประตูนะโมไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ ๑.๗ กิโลเมตร
เดิมนั้นชาวบ้านเรียกชื่อวัดนี้ว่า วัดตาเถรขึงหนัง ส่วนชื่อวัดศรีพิจิตรกิรติกัลยารามที่เรียกกันในปัจจุบันนั้น มาจากจารึกวัดตาเถรขึงหนังที่มีการพบที่วัดแห่งนี้ เนื้อหาของจารึกได้กล่าวถึงสมเด็จพระราชชนนีศรีธรรมราชมาดาและสมเด็จมหาธรรมราชาธิบดีราชโอรส (พญาไสลือไท) ได้อาราธนาพระเถระสำคัญองค์หนึ่งนามว่า ศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม จากเมืองกำแพงเพชรมาอำนวยการสร้างวัดนี้ในปี พ.ศ. ๑๙๔๓ และต่อมาในปี พ.ศ. ๑๙๔๖ ได้มีการปลูกพระศรีมหาโพธิ์ เนื้อหาของจารึกถูกบันทึกด้วยอักษรขอมสุโขทัย – ไทยสุโขทัย จารึกขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๑๙๔๗ ภายหลังการสร้างวัดแล้วเสร็จ ดังปรากฏข้อความในจารึกดังนี้
“…ศักราช ๗๖๒ นาคนักษัตรปีมะโรง สมเด็จพระราชชนนีศรีธรรมราชมาดา มหาดิลกรัตนราชนาถ-กรรโลง แม่และสมเด็จมหาธรรมราชาธิบดีศรีสุริยวงศ์ (โอรส) ราชอำนวจน้าวห้าวหาญ นำ พ(ล) รชราคลาธรณีดลสกลกษัตริย์ (หากขึ้นเสวยใน) มหามไหสวริยอัครราช เป็นท้าวพระยามหากษัตริย์ (นครศรีสัชนาลัย) สุโขทัย แกวกลอยผลาญปรปักษ์ศตรูนู พระราชสีมา…เป็นขนอบขอบพระบางเป็นแดน เท่าแสนสอง หนองห้วยและแพร่…สมเด็จแม่ออกท่าน จึงจักให้นิมนต์ตนสมเด็จพระ(มหา) ศรี (กิรติ) เจ้าเหง้าพุทธางกูรดรุณพันลอก ฝูงอริยะ จากสถานสถิระ คือพชรบุรีศรีกำแพงเพชร มาสร้างพระอาวาสอาสน์อันดีมีชื่อศรีพิจิตรกิรติกัลยารามเป็นสนามเจ้ามหาสัปปุรุษทั้งหลาย จักถวายอัญชุลีน้อมตน นมัสการคำนับ อันดับนั้น ศักราช ๗๖๕ ในปีมะแมแปรวันเดือนในเดือนอ้าย ออกใหม่ใส่ไว้ได้แปดค่ำ วันพฤหัสบดีศรีทินพารกาลยามตะวันชายย้ายหกบาทฉายาเสร็จ สมเด็จพระศรีธรรมราชมาดามหาดิ (ลกรัตนราช) กรรโลง จึงสถิตสถาปนาปลูกพระพฤกษาอธิบดีศรีมหา (โพธิ)…”
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม เป็นวัดที่มีคูน้ำล้อมรอบเป็นขอบเขตวัด โดยมีโบราณสถานตั้งอยู่ภายในซึ่ง ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างดังนี้
๑. เจดีย์ประธานทรงระฆังขนาดใหญ่ ก่อด้วยอิฐ ตั้งอยู่บนฐานสูงเป็นรูปสี่เหลี่ยม ขนาดกว้างด้านละ ๑๗ เมตร ที่ฐานด้านตะวันออกและตะวันตก ทำเป็นซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่ง โดยเฉพาะซุ้มด้านทิศตะวันออกปรากฏร่องรอยการก่อเป็นซุ้มโค้งสูงขึ้นไปคล้ายกรวยแหลม
๒. ฐานวิหารก่ออิฐ ขนาดกว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๓ เมตร อยู่ทางด้านหน้า หรือตะวันออกของเจดีย์ประธาน
๓. ฐานเจดีย์ราย ๔ ฐาน ตั้งเรียงรายอยู่โดยรอบฐานเจดีย์ประธาน
๔. คูน้ำล้อมรอบอาณาเขตวัด มีขนาดของคูกว้างประมาณ ๑๕ เมตร ล้อมรอบพื้นที่วัดที่มีขนาดกว้าง ๔๐ เมตร และยาว ๘๐ เมตร
---------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : อุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย
---------------------------------------------------