C
C
C
Thai
English
หน้าหลัก
กรมศิลปากร
ประวัติและบทบาทหน้าที่
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ผู้บริหารกรมศิลปากร
ผู้บริหารระดับสูง
ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ
ผู้อำนวยการสำนักส่วนกลาง
ผู้อำนวยการสำนักศิลปากร
CIO
โครงสร้างองค์กร
บุคลากรดีเด่น
ยุทธศาสตร์/แผนปฏิบัติราชการ
แผนงาน/โครงการ/งบประมาณ
หน่วยงานในสังกัด
บริการประชาชน
พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง
อุทยานเสมือนจริง
GIS (ระบบภูมิสารสนเทศแหล่งมรดกศิลปวัฒนธรรม)
NSW (ขอนำเข้า/ส่งออก โบราณวัตถุศิลปวัตถุ)
e-service (จดแจ้งการพิมพ์, ขอเลข ISSN, ISBN, CIP)
คลังข้อมูลดิจิทัล
จำหน่ายบัตรการแสดงออนไลน์
จำหน่ายหนังสือกรมศิลปากร
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารฯ
อื่นๆ
คู่มือและมาตรฐานกรมศิลปากร
แผ่นพับนำชม
เอกสารดาวน์โหลด
แจ้งและร้องเรียน
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
แบบสำรวจความพึงพอใจ
แหล่งเรียนรู้
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
อุทยานประวัติศาสตร์
หอสมุดแห่งชาติ
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรม
ข่าวรับสมัครงาน
จัดซื้อจัดจ้าง
ข่าว Feed
คลังวิชาการ
องค์ความรู้
ด้านดนตรีและนาฏศิลป์
ด้านภาษาและหนังสือ
ด้านเอกสารจดหมายเหตุ
ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
ด้านสถาปัตยกรรมและช่างศิลป์
ความรู้ทั่วไป
ความรู้ด้านดนตรีและนาฏศิลป์
ความรู้ด้านภาษา หนังสือ และเอกสาร
ความรู้ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
ความรู้สถาปัตยกรรมและช่างศิลป์
วีดิทัศน์
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์.
กฏระเบียบ
กฎหมายและระเบียบ
ITA
ติดต่อ
Thai
English
Login
Register
search
หน้าหลัก
กรมศิลปากร
ประวัติและบทบาทหน้าที่
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ผู้บริหารกรมศิลปากร
ผู้บริหารระดับสูง
ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ
ผู้อำนวยการสำนักส่วนกลาง
ผู้อำนวยการสำนักศิลปากร
CIO
โครงสร้างองค์กร
บุคลากรดีเด่น
ยุทธศาสตร์/แผนปฏิบัติราชการ
แผนงาน/โครงการ/งบประมาณ
หน่วยงานในสังกัด
บริการประชาชน
พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง
อุทยานเสมือนจริง
GIS (ระบบภูมิสารสนเทศแหล่งมรดกศิลปวัฒนธรรม)
NSW (ขอนำเข้า/ส่งออก โบราณวัตถุศิลปวัตถุ)
e-service (จดแจ้งการพิมพ์, ขอเลข ISSN, ISBN, CIP)
คลังข้อมูลดิจิทัล
จำหน่ายบัตรการแสดงออนไลน์
จำหน่ายหนังสือกรมศิลปากร
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารฯ
อื่นๆ
คู่มือและมาตรฐานกรมศิลปากร
แผ่นพับนำชม
เอกสารดาวน์โหลด
แจ้งและร้องเรียน
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
แบบสำรวจความพึงพอใจ
แหล่งเรียนรู้
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
อุทยานประวัติศาสตร์
หอสมุดแห่งชาติ
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรม
ข่าวรับสมัครงาน
จัดซื้อจัดจ้าง
ข่าว Feed
คลังวิชาการ
องค์ความรู้
ด้านดนตรีและนาฏศิลป์
ด้านภาษาและหนังสือ
ด้านเอกสารจดหมายเหตุ
ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
ด้านสถาปัตยกรรมและช่างศิลป์
ความรู้ทั่วไป
ความรู้ด้านดนตรีและนาฏศิลป์
ความรู้ด้านภาษา หนังสือ และเอกสาร
ความรู้ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
ความรู้สถาปัตยกรรมและช่างศิลป์
วีดิทัศน์
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์.
กฏระเบียบ
กฎหมายและระเบียบ
ITA
ติดต่อ
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
อุโบสถวัดประทุมธรรมชาติ จังหวัดสุรินทร์
จำนวนผู้เข้าชม 355
อุโบสถวัดประทุมธรรมชาติ ตั้งอยู่ภายในวัดประทุมธรรมชาติ บ้านแกใหญ่ หมู่ที่ ๑ ตำบลแกใหญ่ อำเภอเมืองสุรินทร์จังหวัดสุรินทร์ เป็นโบราณสถานที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๖๐ แล้วเสร็จและมีการผูกพัทธสีมาเมื่อ ๑ มีนาคม ๒๔๖๒ กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙ ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง หน้า ๙ วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๕พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๔ ไร่ ๐ งาน ๔๖ ตารางวา
ร่องรอยของโบราณสถานที่เหลืออยู่ เป็นอาคารอุโบสถ หรือที่เรียกว่า “สิม” สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพุทธ สร้างโดยการนำของพระครูธรรมธัชพิมล อดีตเจ้าอาวาส ช่างเป็นชาวเขมรที่มาอยู่ที่บ้านแกใหญ่อุโบสถ หรือ สิมหลังนี้ เป็นสถาปัตยกรรมพื้นบ้าน สร้างด้วยไม้ ขนาด ๕ ช่วงเสา กว้าง ๗.๒๕ เมตร ยาว ๑๐.๖๐ เมตร หลังคาทรงจั่วสองชั้น ชั้นบนลดมุขด้านหน้าและด้านหลังหน้าบันมีชานจั่วแกะสลักลวดลาย ส่วนบนหลังคาประดับด้วยโหง่ ลำยอง นาคสะดุ้งและหางหงส์ไม้ หลังคาชั้นลดแบบปั้นหยาคลุมตลอดทั้งสี่ด้าน หน้าต่างและประตูเป็นแบบลูกฟักเหมือนกับที่ใช้ในบ้านเรือนทั่วไป ตัวอาคารตั้งอยู่บนพื้นดิน มีเสาไม้สี่เหลี่ยม รวม ๒๔ ต้น ด้านหน้าด้านทิศตะวันออกมีประตูทางเข้า ๒ บาน และมีหน้าต่างอยู่ตรงกลาง ๑ บาน ด้านหลังด้านทิศตะวันตกมีประตูทางเข้า ๒ บาน และมีหน้าต่างอยู่ตรงกลาง ๑ บาน ด้านข้างด้านทิศเหนือและด้านทิศใต้มีช่องหน้าต่างด้านข้างด้านละ ๕ บาน จุดเด่นของสิมหลังนี้อยู่ที่หน้าบันมีชานจั่วเป็นไม้แกะสลักลวดลายด้านทิศตะวันออกแกะสลักลวดลายรูปเทพพนม ท่ามกลางลวดลายพันธุ์พฤกษา ด้านทิศตะวันตกแกะสลักลวดลายราหู ท่ามกลางลวดลายพันธุ์พฤกษา นอกจากนี้ยังพบการสลักลวดลายที่ตำแหน่งเชิงชายคาของหลังคาทั้งสองชั้น
ปัจจุบัน โบราณสถานอุโบสถวัดประทุมธรรมชาติ ไม่มีการใช้ประโยชน์ และไม่ได้รับความเอาใจใส่ดูแลรักษาจากทางวัดเท่าที่ควร เนื่องจากมีการสร้างอุโบสถหลังใหม่ไว้ที่ด้านทิศใต้ของอุโบสถหลังนี้ สภาพปัจจุบันอยู่ในสภาพทรุดโทรมมาก ส่วนหลังคาที่เดิมเคยมุงด้วยกระเบื้องซีเมนต์ปลายแหลม ถูกปรับเปลี่ยนเป็นสังกะสีทั้งหมด ส่วนบนหลังคา ที่ประดับด้วยโหง่ ลำยอง นาคสะดุ้งและหางหงส์ไม้ ชำรุด ผุพังและหลุดหายไปจากตำแหน่งเดิม ประตู หน้าต่างและฝาผนังไม้ ชำรุด ผุพัง หลุดหายไปมาก ลวดลายหน้าบันที่สลักตกแต่งสวยงามก็ชำรุดหลุดหายไป ภายในอาคารก็มีน้ำท่วมขัง เนื่องจากมีการนำดินมาปรับถมพื้นที่ด้านนอกโดยรอบทำให้ภายในอยู่ในพื้นที่ต่ำ
สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ได้เห็นคุณค่าและความสำคัญของโบราณสถานอุโบสถ วัดประทุมธรรมชาติ จึงได้ดำเนินการจัดทำแผนงานโครงการสำรวจเพื่อการออกแบบบูรณะโบราณสถานอุโบสถวัดประทุมธรรมชาติ โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นการศึกษาข้อมูลของโบราณสถาน ประวัติศาสตร์ความเป็นมาและรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของโบราณสถาน มีเป้าหมายเพื่อที่จะอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานและปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ของโบราณสถาน ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและสวยงาม คงสภาพความเป็นของแท้ดั้งเดิมให้มากที่สุด ทรงคุณค่าในการเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและแหล่งศึกษาหาความรู้ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งได้ดำเนินการจัดทำผังรูปแบบเพื่อการบูรณะเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ปัจจุบัน สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ได้รับจัดสรรงบประมาณประจำปี พ.ศ.๒๕๖๓ จากกรมศิลปากร เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งศิลปวัฒนธรรมเพื่อเพิ่มศักยภาพทางการท่องเที่ยว งบเงินอุดหนุนเพื่อบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์อุโบสถวัดประทุมธรรมชาติ โดยเบิกจ่ายจากเงินอุดหนุน จำนวน ๗๓๐,๐๐๐ บาท (เจ็ดแสนสามหมื่นบาทถ้วน) และเงินวัดสมทบ จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินงานบูรณะและปรุบปรุงภูมิทัศน์ และสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา จะรายงานผลความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการเป็นระยะๆ ต่อไป
รวบรวมข้อมูลโดย : นายนภสินธุ์ บุญล้อม นักโบราณคดีปฏิบัติการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา